ดาวน์โหลดไฟล์ ตัวอย่างการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล เป็นส่วนหนึ่งใน 13 ตัวชี้วัด
ตามหลักการและจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 และ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดเป้าหมายและทิศทางการปฏิรูปการศึกษา กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคนไทย ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คู่คุณธรรม โดยมีหลักการสำคัญของการจัดการศึกษา ประกอบด้วย ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ดาวน์โหลดไฟล์ ตัวอย่างการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล เป็นส่วนหนึ่งใน 13 ตัวชี้วัด
ดังนั้น ครูผู้สอนซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้พัฒนาตนเอง คิดเอง ปฏิบัติเอง เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ตามความพึงพอใจ ตามความถนัด
ตามความสนใจของแต่ละบุคคล การวิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคลจึงมีความจำเป็นและสำคัญมาก ผู้สอนจึงได้จัดทำแบบวิเคราะห์ผู้เรียนเล่มนี้ขึ้น เพื่อวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลก่อนดำเนินการสอนในปีการศึกษา 2555 ข้อมูลจากการศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนในครั้งนี้มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างยิ่ง
ตัวอย่างเอกสาร
ดาวน์โหลดไฟล์ได้ที่ล่างสุดของเนื้อหา
การวิเคราะห์ผู้เรียนมีการดำเนินการ ดังนี้
1. เก็บรวบรวมข้อมูลในวิชาที่ต้องการวิเคราะห์จากครูคนเดิมในปีการศึกษาที่ผ่านมา หรือจัดสร้างเครื่องมือ แบบทดสอบวิชานั้นๆ ขึ้นใหม่แล้วนำมาใช้ทดสอบผู้เรียนทุกคน
2. นำข้อมูลมาศึกษาวิเคราะห์ หรือแยกแยะตามความเป็นจริง พร้อมจัดกลุ่มผู้เรียนออกเป็น กลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง (หรือผ่านระดับ) และกลุ่มที่ต้องปรับปรุงแก้ไข
3. การวิเคราะห์ผู้เรียนจะพิจารณาทั้งความพร้อมด้านความรู้ความสามารถ สติปัญญา และความพร้อมด้านอื่นๆ ของผู้เรียนควบคู่กันไปด้วย
4. สำหรับนักเรียนที่มีความพร้อมต่ำกว่าระดับที่กำหนด ผู้สอนจะรีบดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้มีความพร้อมดีขึ้นก่อน จึงค่อยดำเนินการจัดการเรียนรู้ในระดับชั้นที่จะทำการสอน ส่วนความพร้อมด้านอื่นๆ ได้พยายามปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นในลำดับต่อไป
แนวคิด วัตถุประสงค์ และขอบเขตของการวิเคราะห์ผู้เรียน
แนวคิดในการวิเคราะห์ผู้เรียน
1. การจัดการเรียนรู้ให้ประสบความสำเร็จ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ผู้เรียนควรมีความพร้อมที่ดีในทุกๆ ด้าน ดังนั้นก่อนจะเริ่มดำเนินการสอนวิชาใดๆ ควรมีการศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เกี่ยวกับ
- – ความพร้อมด้านความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์
- – ความพร้อมด้านสติปัญญา
- – ความพร้อมด้านพฤติกรรม
- – ความพร้อมด้านร่างกาย
- – ความพร้อมด้าน สังคม
2. ก่อนจะเริ่มดำเนินการจัดการเรียนรู้วิชาใดๆ ผู้สอนควรศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียน ให้รู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในแต่ละด้าน หากพบผู้เรียนคนใดมีข้อบกพร่องด้านใดควรปรับปรุงแก้ไขให้มีความพร้อมที่ดีขึ้นก่อน
3. การเตรียมความพร้อม หรือการแก้ไขข้อบกพร่อง สำหรับนักเรียนที่ยังขาดความพร้อมในด้านใดๆ ควรใช้กิจกรรมหลายๆ แบบ หรือใช้เทคนิควิธีการที่เหมาะสม จนผู้เรียนมีความพร้อมดีขึ้น
วัตถุประสงค์การวิเคราะห์ผู้เรียน
1. เพื่อศึกษา วิเคราะห์ แยกแยะเกี่ยวกับความพร้อมของผู้เรียนในแต่ละด้านเป็นรายบุคคล
2. เพื่อให้ครูผู้สอนรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และหาทางช่วยเหลือผู้เรียนที่มีข้อบกพร่องให้มีความพร้อมที่ดีขึ้น3. เพื่อให้ผู้สอนได้จัดเตรียมการสอน สื่อ หรือนวัตกรรม สำหรับดำเนินการจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนได้สอดคล้องเหมาะสม ตรงตามความต้องการของผู้เรียนมากยิ่งขึ้น
ทำไมต้องรู้จักผู้เรียนรายบุคคล ?
การรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคลโดยการวิเคราะห์ผู้เรียน เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดก่อนเริ่มทำการสอน ครูผู้สอนทุกคนต้องมีความเข้าใจว่านักเรียนแต่ละคนมีพื้นฐานความเป็นมาของชีวิตที่ไม่เหมือนกัน ถูกหล่อหลอมจนเกิดพฤติกรรมหลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันออกไป
การรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มจะช่วยให้ครูมีข้อมูลที่สำคัญในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม ตามความต้องการ ความถนัด ความสนใจการเรียนรู้ชองผู้เรียนแต่ละคน ครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องมีข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้เรียนอย่างชัดเจนจะช่วยให้เข้าใจนักเรียนมากขึ้น สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อเป็นประโยชน์ในการส่งเสริม พัฒนาหรือป้องกันแก้ไขปัญหานักเรียนได้อย่างถูกทาง
การเรียนรู้พฤติกรรมนักเรียนในแต่ละปีการศึกษาของโรงเรียนเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับคุณครูในการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพให้กับนักเรียนของเรา ดังนั้นคุณครูจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อจะได้ทำความรู้จักนักเรียน เป็นการวางแผนสำหรับการจัดการเรียนรู้ ซึ่งนักเรียนเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องศึกษาและเรียนรู้ก่อนเป็นลำดับแรก
การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เป็นสิ่งสำคัญที่คุณครูจะต้องคำนึงถึง เพื่อศึกษาลักษณะสำคัญของนักเรียนเพื่อดูนักเรียนแต่ละคนว่ามีจุดสนใจ จุดที่ควรพัฒนา ปรับปรุงอยู่ตรงไหน และเป็นเรื่องอะไร จะทำให้คุณครูได้จัดการเรียนรู้ได้อย่างถูกต้องและตรงตามความสามารถของนักเรียนแต่ละคน ในการศึกษาข้อมูลดังกล่าวไม่ใช่เรื่องยากสำหรับคุณครู เราสามารถศึกษาข้อมูลได้จากคุณครูประจำชั้น คุณครูประจำวิชา หรือคุณครูที่เคยสอนมาก่อน ครูแนะแนว เป็นต้น เพื่อจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์มากที่สุดในการที่จะวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ข้อมูลพื้นฐานที่คุณครูจะต้องศึกษา (ดร.จตุภูมิ เขตจัตุรัส, 2555:25) ได้แก่ ภูมิหลังทางครอบครัว ,ผลการเรียนตามหลักสูตร, พัฒนาการทุกด้าน (ร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ สติปัญญา ค่านิยมฯลฯ) , ความสนใจ ความถนัด ศักยภาพ และความต้องการจำเป็น และปัญหา / ข้อจำกัด
ข้อมูลเหล่านี้อาจจะได้มาจากสมุดพกของนักเรียน ระเบียนสะสมจากแนะแนวของโรงเรียน คุณครูประจำชั้นและประจำวิชา คุณครูที่เคนสอน ผู้ปกครองนักเรียน เพื่อนนักเรียน พี่-น้อง หรือแม้แต่ตัวของนักเรียนเอง ประกอบกับการสังเกตการณ์ดำเนินชีวิตประจำวันของนักเรียนปัจจุบันในห้องเรียน สามารถนำมาประมวลผลเป็นแบบรายงานการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนานักเรียน คุณครูสามารถจัดกิจกรรมได้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียนได้ข้อมูลเชิงประจักษ์แก่เพื่อนครูต่อไป
การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อให้ครูผู้สอนทราบว่า ผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดี ย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน ดังนั้นครูผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของผู้เรียน เช่น การกำหนดลักษณะทั่วไป ซึ่งได้แก่ อายุ ระดับความรู้ สังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของผู้เรียนแต่ละคน ถึงแม้ว่าลักษณะทั่วไปของผู้เรียนจะไม่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทเรียนก็ตามแต่ ก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้ครูผู้สอนสามารถตัดสินระดับของบทเรียนและเพื่อเลือกตัวอย่างของเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้ ส่วนลักษณะเฉพาะของผู้เรียนแต่ละคนนั้น นับว่ามีส่วนสำคัญโดยตรงกับเนื้อหาบทเรียนตลอดจนสื่อการสอนและวิธีการที่จะนำมาใช้ในการสอน สิ่งที่ต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย
“หลักการวิเคราะห์ผู้เรียน”
เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่ง ในข้อบัญญัติการจัดการหลักสูตรและระบบดูแลผู้เรียน มาตรฐาน FLEX Learner
1. ทักษะที่มีมาก่อน (Prerequisite Skill) เพื่อให้ทราบว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐาน หรือทักษะที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนนั้นว่ามีอะไรบ้าง ก่อนที่จะเรียน 2. ทักษะเป้าหมาย (Target Skill) ผู้เรียนมีความชำนาญในทักษะที่จะสอนนั้นมาก่อนหรือไม่ เพื่อจะได้สอนให้ตรงกับที่วางจุดมุ่งหมายไว้
3. ทักษะในการเรียน (Study Skill) ผู้เรียนมีความสามารถขั้นต้นทางด้านภาษา การอ่านเขียน การคำนวณ ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยในการเรียนรู้นั้นในระดับมากน้อยเพียงไร
4. เจตคติ (Attitudes) ผู้เรียนมีเจตคติอย่างไรต่อวิชาที่จะเรียนนั้น การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนนั้นถึงแม้ว่าจะเป็นการกระทำเพียงผิวเผินก็ตาม แต่ก็สามารถนำไปใช้ในการเลือก สื่อที่เหมาะสมได้ เช่น หากผู้เรียนมีทักษะในการอ่านต่ำกว่าเกณฑ์ก็สามารถช่วยได้ด้วยการใช้สื่อประเภทที่มิใช่สื่อสิ่งพิมพ์ หรือถ้าหากผู้เรียนในกลุ่มนั้นมีความแตกต่างกันมาก ก็สามารถให้เรียนด้วยชุดการเรียนรายบุคคลได้
อ่านข่าวอื่นๆเพิ่มเติม https://krutortao.com/
ขอขอบคุณ https://www.tciap.com/