แบบทดสอบออนไลน์ หลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อ โดยโรงเรียนสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 2566

แบบทดสอบออนไลน์ โดยโรงเรียนสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

แบบทดสอบออนไลน์ หลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อ โดยโรงเรียนสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 2566

ตัวอย่างเกียรติบัตร
แบบทดสอบออนไลน์ โดยโรงเรียนสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

คำชี้แจง

โปรดอ่านคำชี้แจงอย่างละเอียดเพื่อผลประโยชน์ของท่านเอง

ลักษณะแบบทดสอบ
1. เป็นแบบทดสอบ 4 ตัวเลือก ประกอบด้วยข้อคำถาม 30 ข้อ
2. เกณฑ์การผ่าน: ทำแบบทดสอบได้ถูกต้องร้อยละ 70 ขึ้นไป
3. ผู้ที่ทำแบบทดสอบผ่านเกณฑ์เท่านั้นจึงจะได้รับเกียรติบัตร

จัดทำโดย
สภานักเรียนโรงเรียนสันกำแพง โรงเรียนสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่

เกี่ยวกับแบบทดสอบ

การรู้ทันสื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างพลังอำนาจให้แก่ประชาชน
ผู้บริโภคสื่อ ซึ่งการรู้ทันสื่อนั้นต้องอาศัยทักษะในการเข้าถึง วิเคราะห์และประเมินข้อมูลข่าวสารจากสื่อ อย่างมีประสิทธิภาพ แบบทดสอบฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อวัดและประเมินผลทักษะการรู้ทันสื่อของนักเรียน เด็กและเยาวชน ประชาชนทั่วไป ภายใต้โครงการส่งเสริมการพัฒนาและเพิ่มความสามารถในการรู้ทันสื่อของประชาชน “คนทันสื่อ” ระดับภูมิภาค โครงการละอ่อนสอนสื่อ โรงเรียนสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

การสื่อสารนั้นเป็นพื้นฐานและเป็นกระบวนการสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต พัฒนาการของการสื่อสารในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและก้าวกระโดด ข้อมูลข่าวสารซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการสื่อสารถูกส่งต่อด้วยสื่อแขนงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ และวิทยุที่กำลังถูกเชื่อมโยงกันด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและได้เคลื่อนเข้าสู่ยุคสื่อหลอมรวม (Media Convergence) ซึ่งมีส่วนสำาคัญในการเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตดังนั้นการรู้ทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล จึงเป็นทักษะสำาคัญของพลเมือง ที่จะต้องสร้างขึ้นจนเป็นสมรรถนะ ทั้งนี้เพื่อการเข้าถึงสื่อสารสนเทศและดิจิทัลอย่างเท่าเทียม มีความเข้าใจและสามารถคิดวิเคราะห์วิพากษ์ ประเมินคุณค่า สร้างสรรค์สื่อ และใช้ประโยชน์จากการสื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้สังคมดีขึ้น

มาตรฐานการจัดการเรียนรู้

ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสาร การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แม้จะก่อให้เกิดผลดีหลายประการแต่ก็ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นในสังคมได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น การกลั่นแกล้งผ่านโลกไซเบอร์ การขาดวิจารณญาณในการใช้สื่อและสารสนเทศตลอดจนการขาดทักษะในการใช้สื่ออย่างปลอดภัย กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เยาวชนเกิดทักษะทั้งทาสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (Media Information Digital Literacy: MIDL) และมีคุณลักษณะที่สำาคัญของพลเมือง (citizenship) จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยส่งเสริมสมรรถนะสำคัญของการเป็นพลเมืองโลกในศตวรรษที่ 21

แบบทดสอบออนไลน์ โดยโรงเรียนสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 มาตราที่ 6 ได้กำหนดให้การศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และมาตราที่ 7 ได้ระบุให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำาหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ รวมถึงแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) ได้ระบุตัวชี้วัดที่ 4 “ร้อยละคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนทุกระดับการศึกษามีความเป็นพลเมือง และพลโลก” อีกทั้งยังถูกกำาหนดในเป้าหมายรวมในข้อที่ 1 ระบุว่า “คนไทยมีคุณลักษณะเป็นคนไทยที่สมบูรณ์ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีความเป็นพลเมืองตื่นรู้ ทำประโยชน์ต่อส่วนรวม เป็นนวัตกรรมสร้างสรรค์ทางสังคม มีความสุขทั้งมิติทางกาย ใจ สังคมและจิตวิญญาณ มีวิถีชีวิตที่พอเพียง มีความเป็นไทย และมีความสามารถ เชิงการแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี”

องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ได้จัดทำาเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ทั้งหมด 17 ประการ ซึ่งเป็นพันธกิจที่ประเทศสมาชิกต้องนำาไปพัฒนา โดยในหัวข้อที่ 4.7 ได้ระบุให้การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การเป็นพลเมืองโลก และการอยู่ร่วมกันในวัฒนธรรม ที่มีความหลากหลาย

นอกจากคุณลักษณะที่สำาคัญที่มุ่งเน้นผู้เรียนให้เป็นพลเมืองที่ดีในสังคมแล้ว ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เป็นอีกหนึ่งในทักษะสำาคัญในศตวรรษที่ 21 ที่ผู้เรียนต้องได้รับการพัฒนาเพื่อนำไปปรับใช้ในการดำาเนินชีวิตท่ามกลางสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลง แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21” โดยมีเป้าหมายด้านผู้เรียน คือ มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3Rs8Cs) ประกอบด้วยทักษะและคุณลักษณะต่อไปนี้ (สำานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560)

ตัวอย่างเกียรติบัตร

ตัวอย่างเกียรติบัตร
ตัวอย่างเกียรติบัตร หลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อ

ท่านสามารถร่วมตั้งปณิธานได้ที่ปุ่ม “สีเขียว” ด้านล่าง

ขอขอบคุณ สพป.เพรชบูรณ์ เขต 3

  

ไลน์อบรมกลุ่มอบรมออนไลน์สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เข้าร่วม “อบรมออนไลน์ครู เกียรติบัตรออนไลน์ครู” โปรดแตะลิงก์ด้านล่างเพื่อเข้าร่วมโอเพนแชทนี้

https://line.me/ti/g2/EHHH3OnnzJUgpigjqZkqyZUJcEaO8E-KmecbSw?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default

💕 ท่านสามารถติดต่อเข้าร่วมกลุ่ม ข่าวสาร เพื่อติดตามผลงานและสื่อต่าง ๆ ได้ที่ 💕

เกียรติบัตรออนไลน์ ว.PA ข่าวการศึกษา สื่อการสอน By ครูตอเต่า | Facebook

เกี่ยวกับเรา

ครูตอเต่า และ krutortao.com ครูตอเต่าแบ่งปัน สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ อบรมออนไลน์ได้เกียรติบัตรแจกฟรี สื่อการสอน แนะนำ สื่อการสอนฟรี สำหรับครู ดาวน์โหลดไฟล์ ใบงาน ใบความรู้ สื่อออนไลน์ แบบฝึกหัด ข้อสอบ ทุกรายวิชา ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ไฟล์เอกสารฟรี ไฟล์หน้าปกฟรี บทความ เอกสารทางการศึกษา ไฟล์เอกสารประเมินวิทยฐานะ อบรมออนไลน์ แบบทดสอบออนไลน์ รายงานการรอบรม เกียรติบัตร เพื่อให้ครูนำไปใช้เป็นในการจัดการเรียนการสอน ให้กับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ติดตามข่าวการศึกษา ข่าวทั่วไป อัพเดททันต่อเหตุการณ์ สอบครูผู้ช่วย แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย รวมทั้งหมดไว้ที่นี่ krutortao.com เว็บไซต์เพื่อการศึกษา และยังสามารถติดตามได้ทางแฟนเพจ ครูตอเต่า อีกช่องทาง เพื่อพัฒนาการศึกษาไทย โดยไม่แสวงหาผลกำไรแต่อย่างใด

Krutortao ครูตอเต่า เป็นเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ และแบ่งปัน ผลงานนครู สื่อการสอน หลักสูตรการอบรมออนไลน์ รับเกียรติบัตร แบ่งปันความรู้ เพื่อนำไปพัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพครู โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อบรมออนไลน์ได้เกียรติบัตร

Share This Article
Exit mobile version