การประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ก้าวสู่ความเสมอภาคไปด้วยกัน 2022

การประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ก้าวสู่ความเสมอภาคไปด้วยกัน 2022

วันนี้ครูตอเต่าขอเชิญชวน
การประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ก้าวสู่ความเสมอภาคไปด้วยกัน 2022

การประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ก้าวสู่ความเสมอภาคไปด้วยกัน 2022

กสศ. ขอเชิญชวนครู นักการศึกษา ผู้ที่สนใจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติ ในรูปแบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 19-20 ตุลาคมนี้ มาร่วมกันปิดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไปด้วยกัน

โดยตลอด 2 วันของการประชุมระดับนานาชาติ จะมีนักการศึกษาและนักพัฒนาเพื่อความยั่งยืนจากทั่วทุกมุมโลก เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และช่วยกันสร้างสรรค์นโยบายการศึกษาของโลกใหม่ เพื่อก้าวข้ามความท้าทาย ท่ามกลางผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่จบ

ร่วมแลกเปลี่ยนใน 5 Session 5 ประเด็นสำคัญ

Session 1 เจาะลึกผลกระทบทางการศึกษาทั่วโลกจากโรคระบาดโควิด-19

Seesion 2 การศึกษาในโลกใหม่ ก้าวต่อไปอย่างไร ท่ามกลางโรคระบาดโควิด-19

Session 3 การพัฒนาทักษะที่หลากหลายและตอบโจทย์ความต้องการของเด็กและเยาวชนด้อยโอกาส ท่ามกลางสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

Session 4 พลิกฟื้น คืนคุณภาพ เติมเต็มช่องว่างเพื่อกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา

Session 5 ให้การประเมินผลเป็นเครื่องมือเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้

*** ผู้ที่เข้าร่วมประชุมครบทั้ง 2 วัน จะได้รับประกาศนียบัตร

กำหนดการและรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.eef.or.th/…/international-conference-on…/

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : afeconference@eef.or.th

ลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ลิ้งก์ด้านล่าง

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้จัดการประชุมนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา:  ก้าวสู่ความเสมอภาคไปด้วยกัน  (International Conference on Equitable Education: Together towards Equity) ร่วมกับภาคีสำคัญ Save the Children , SEAMEO,UNESCO Bangkok , UNICEF EAPRO และ UNICEF Thailand ระหว่างวันที่ 19-20 ตุลาคม 2565

นับตั้งแต่ต้นปี 2020 วิกฤตการระบาดใหญ่ของไวรัส COVID-19 ได้สร้างความท้าทายต่อรัฐบาลทั่วโลก รวมถึงครูและนักเรียน นำไปสู่การหยุดการเรียนการสอนในโรงเรียน โดยเปลี่ยนมาเป็นการเรียนแบบทางไกลผ่านระบบออนไลน์เป็นส่วนใหญ่เพื่อให้แน่ใจว่าการเรียนรู้จะสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติยังคงพบความแตกต่างกันอย่างมากในการจัดหาและแจกจ่ายอินเทอร์เน็ตแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นการบ่งชี้ให้เห็นว่า เทคโนโลยีดิจิทัลยังคงมีข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถส่งเสริมสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เสมอภาคเท่าเทียมและครอบคลุมทั่วถึงได้เสมอไป 

เกียรติบัตออนไลน์ การประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ก้าวสู่ความเสมอภาคไปด้วยกัน 2022

นอกจากนี้  หากแนวทางการสอนของครูขาดความยืดหยุ่นในการปรับตัวให้เข้ากับแพลตฟอร์มออนไลน์ ยังจะทำให้ ‘ช่องว่างทางดิจิทัล’ ในระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิมทวีความรุนแรงมากขึ้น และที่สำคัญไม่แพ้กัน คือการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ของรัฐบาลไปยังโรงเรียนที่ไม่เพียงพอ สวนทางกับรายงานการศึกษาที่สรุปภาพกว้างว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้สร้างภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กและเยาวชนนอกระบบ หรือ out-of-school children, and youth (OOSCY) ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ และผู้เรียนที่อยู่ชายขอบ ในขณะที่เส้นทางสู่การฟื้นตัวกลับยังคงขาดความชัดเจนด้วยเหตุนี้ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ภายใต้ความร่วมมือกับพันธมิตรหลายภาคส่วน จึงได้ร่วมกันจัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยการศึกษาที่เสมอภาค ครั้งที่ 2 ขึ้น ภายใต้หัวข้อ มุ่งสู่ความเสมอภาคร่วมกัน (Together Towards Equity) ระหว่างวันที่ 19 – 20 ตุลาคม 2022 เพื่อแสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนในความมุ่งมั่นพัฒนาโครงการริเริ่มด้านการศึกษาที่เท่าเทียมเสมอภาคกันทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบการศึกษาในการเผชิญหน้ากับความท้าทายหลายรูปแบบ ไม่ว่าการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2020 และหรือความท้าทายอื่นที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

สำหรับการจัดประชุมนานาชาติครั้งนี้มีขึ้นหลังจากประสบความสำเร็จในการจัดประชุมนานาชาติว่าด้วยเรื่อง ปวงชนเพื่อการศึกษา ครั้งที่ 1 : ความเสมอภาคทางการศึกษา (the 1st International Conference on All for Education: Equitable Education) และการประชุมระดับภูมิภาคว่าด้วยครูและความเสมอภาคทางการศึกษา : ปวงชนเพื่อการศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (the Regional Conference on Teachers and Equitable Education: All for Education in Southeast Asia) ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานทั้งสิ้นราว 2,400 คน และ 3,200 คน ตามลำดับ

ทั้งนี้ เพื่อสานต่อความพยายามดังกล่าวในการมุ่งหน้าสู่ความเสมอภาคทางการศึกษา ตลอดจนการสร้างแรงผลักดันระดับโลกและระดับภูมิภาคเกี่ยวกับการศึกษาที่เสมอภาคเท่าเทียมกัน การประชุมจะหารือกันถึงกลยุทธ์ของรัฐบาลในการดูและกลุ่ม OOSCY ตลอดจนแนวโน้มใหม่ของการเรียนรู้ในระบบดิจิทัลและโครงการฟื้นฟูสำหรับกลุ่มชายขอบและผู้ด้อยโอกาสในช่วงการระบาดใหญ่ของ COVID-19 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีทักษะที่จำเป็นสำหรับความเป็นอยู่ที่ดีและการทำงานตลอดชั่วชีวิต โดยการอภิปรายในหมู่ผู้เข้าร่วมการประชุมจะเกี่ยวข้องกับการนำระบบการศึกษา การประเมิน และแนวทางของพันธมิตรไปปรับใช้เพื่อจัดการกับประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม OOSCY

นอกจากนี้ การประชุมยังจะสร้างความตระหนักและอำนวยความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาเพื่อความเสมอภาคในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ และสะท้อนถึงกลยุทธ์ กลไก และแนวทางปฏิบัติที่เกิดขึ้นใหม่เพื่อส่งเสริมความเสมอภาคเท่าเทียมในแต่ละบริบท สำหรับข้อเสนอแนะทางเทคนิคที่มีการหยิบยกมาหารือพูดคุย หรือนำไปปรับใช้จะได้รับการพัฒนาจากการประชุมโดยคำนึงถึงการอภิปรายของผู้เข้าร่วม และถ้อยแถลงการณ์กรุงเทพฯ 2022 ‘มุ่งสู่การฟื้นฟูการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสำหรับทุกคนและพลิกโฉมการศึกษาในเอเชียแปซิฟิก’ ซึ่งได้รับการรับรองในการประชุมรัฐมนตรีการศึกษาระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 2 (APREMC-II) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนมิถุนายน 2565 และผลของการประชุมสุดยอดปฏิรูปการศึกษา (TES) ที่จัดโดยสหประชาชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติสมัยที่ 77 ที่นครนิวยอร์ก เมื่อกลางเดือนกันยายน 2022 ที่ผ่านมา

อนึ่ง ผู้กำหนดนโยบาย ผู้นำด้านการศึกษา นักการศึกษา และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ จะมีโอกาส 1) ได้รับความรู้โดยตรงเกี่ยวกับประสบการณ์ระดับนานาชาติและระดับภูมิภาคเพื่อเสริมสร้างความเท่าเทียมผ่านระบบการศึกษา 2) แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนร่วมงาน และ 3) ร่วมมือกันสนับสนุนความพยายามที่มีอยู่และแนวทางใหม่สู่การสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา 

ทั้งนี้ ความพยายามในการสร้างหลักประกันความเสมอภาคทางการศึกษาผ่านการศึกษานอกระบบครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายในการมุ่งเน้นไปที่การรักษาความเสมอภาคทางการศึกษา ซึ่งหมายรวมถึงกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มคนชายขอบ ขณะเดียวกัน ก็สามารถนำเอาหลักการเดียวกันหลายประการที่อยู่ภายใต้การศึกษานอกระบบมาปรับประยุกต์ใช้กับบริบทต่างๆ ภายในการศึกษาในระบบได้เช่นกัน

เข้าร่วมกลุ่มข่าว ครูตอเต่า เพื่อรับข่าวสาร

คอร์สเรียนออนไลน์ หลักสูตรที่น่าสนใจ

การประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ก้าวสู่ความเสมอภาคไปด้วยกัน 2022

ลงทะเบียนออนไลน์

การประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ก้าวสู่ความเสมอภาคไปด้วยกัน 2022 กสศ. ขอเชิญชวนครู นักการศึกษา ผู้ที่สนใจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติ ในรูปแบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 19-20 ตุลาคมนี้ มาร่วมกันปิดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไปด้วยกัน

การประชุมวิชาการนานาชาติ


เข้าร่วมกลุ่มข่าว ครูตอเต่า เพื่อรับข่าวสาร

💕ท่านสามารถติดต่อเข้าร่วมกลุ่ม ข่าวสาร เพื่อติดตามผลงานและสื่อต่าง ๆ ได้ที่ >> 

https://www.facebook.com/groups/298149415474

เกี่ยวกับเรา

ครูตอเต่า และ krutortao.com ครูตอเต่าแบ่งปัน สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ แจกฟรี สื่อการสอน แนะนำ สื่อการสอนฟรี สำหรับครู ดาวน์โหลดไฟล์ ใบงาน ใบความรู้ สื่อออนไลน์ แบบฝึกหัด ข้อสอบ ทุกรายวิชา ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ไฟล์เอกสารฟรี ไฟล์หน้าปกฟรี บทความ เอกสารทางการศึกษา ไฟล์เอกสารประเมินวิทยฐานะ อบรมออนไลน์ แบบทดสอบออนไลน์ รายงานการรอบรม เกียรติบัตร เพื่อให้ครูนำไปใช้เป็นในการจัดการเรียนการสอน ให้กับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ติดตามข่าวการศึกษา ข่าวทั่วไป อัพเดททันต่อเหตุการณ์ สอบครูผู้ช่วย แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย รวมทั้งหมดไว้ที่นี่ krutortao.com เว็บไซต์เพื่อการศึกษา และยังสามารถติดตามได้ทางแฟนเพจ ครูตอเต่า อีกช่องทาง เพื่อพัฒนาการศึกษาไทย โดยไม่แสวงหาผลกำไรแต่อย่างใด

Krutortao ครูตอเต่า เป็นเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ และแบ่งปัน ผลงานนครู สื่อการสอน หลักสูตรการอบรมออนไลน์ รับเกียรติบัตร แบ่งปันความรู้ เพื่อนำไปพัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพครู โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และไม่มีการเรียกเก็บเงินใดๆ 

Share This Article
Leave a comment

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Exit mobile version