เปิดรับสมัคร โครงการโรงเรียนปลอดขยะ ปี 2565 สนใจเข้าร่วมโครงการ ส่งเอกสารมาที่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เท่านั้นคลิกเลย ครูตอเต่า

เปิดรับสมัคร โครงการโรงเรียนปลอดขยะ ปี 2565 สนใจเข้าร่วมโครงการ ส่งเอกสารมาที่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เท่านั้นคลิกเลย ครูตอเต่า

เปิดรับสมัคร โครงการโรงเรียนปลอดขยะ ปี 2565 สนใจเข้าร่วมโครงการ ส่งเอกสารมาที่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เท่านั้นคลิกเลย ครูตอเต่า

โครงการโรงเรียนปลอดขยะ ปี 2565

สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกครูตอเต่า และ krutortao.com วันนี้มีเปิดรับสมัคร โครงการโรงเรียนปลอดขยะ ปี 2565 มาแบ่งปันให้เพื่อนๆ ครูทุกท่าน ท่านใดที่สนใจก็สามารถสมัครลงทะเบียนได้เลยครับ ช่วยเป็นกำลังใจกดไลด์กดแชร์ใจเพจ ครูตอเต่ากันด้วยนะครับ ครูตอเต่าแบ่งปัน ปกแผนการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ไฟล์ power point แก้ไขได้ ฟรี เว็บไซต์ krutortao.com ของเรา สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ แจกฟรี สื่อการสอน แนะนำ สื่อการสอนฟรี สำหรับครู ดาวน์โหลด ใบงาน ใบความรู้ สื่อออนไลน์ แบบฝึกหัด ข้อสอบ ทุกรายวิชา ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ บทความ เอกสารทางการศึกษา อบรมออนไลน์ เกียรติบัตร เพื่อให้ครูนำไปใช้เป็นในการจัดการเรียนการสอน ให้กับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ติดตามข่าวการศึกษา ข่าวทั่วไป อัพเดททันต่อเหตุการณ์ สอบครูผู้ช่วย แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย รวมทั้งหมดไว้ที่นี่ krutortao.com เว็บไซต์เพื่อการศึกษา และยังสามารถติดตามได้ทางแฟนเพจ ครูตอเต่า อีกช่องทาง เพื่อพัฒนาการศึกษาไทย โดยไม่แสวงหาผลกำไรแต่อย่างใด

แนวคิด Zero Waste หรือ “ขยะเหลือศูนย์” สามารถทำได้ทั้งในชุมชน และโรงเรียนเพื่อให้เกิดชุมชนปลอดขยะและโรงเรียนปลอดขยะ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินโครงการประกวดโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) มาตั้งแต่ปี2556-ปัจจุบันโดยอาศัยหลักการง่ายๆ อย่าง 3Rs ได้แก่ R=Reduce ใช้น้อย คือ การลดปริมาณขยะให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด R=Reuse ใช้ซ้ำ หากเกิดวัสดุเหลือใช้นำมาใช้ซ้ำ หมุนเวียนใช้ใหม่ก่อนทิ้ง  R = Recycle นำมาใช้ใหม่ ก่อนทิ้งวัสดุเหลือใช้หากเป็นวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ให้คัดแยกขายให้ร้านิ ส่วนA = AVOID หมายถึง การหลีกเลี่ยง หรือ งดการใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือยกันเสียที เช่น การงดใช้วัสดุ สิ้นเปลือง หรือสิ่งของที่ใช้ได้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้งอย่างกล่องโฟมบรรจุอาหาร เป็นต้น

สพฐ.ตั้งเป้าปี 61 โรงเรียนไร้ขยะทุกโรง(ข่าว)

– สพฐ.จัดประชุมปฏิบัติการการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการขยะในสถานศึกษาสู่การปฏิบัติที่ยั่งยืน “โรงเรียนปลอดขยะสัญจร” ระดับภูมิภาค สนอง “ยุทธศาสตร์ชาติ 20ปี”สู่การปฏิบัติการ “ประเทศไทย ไร้ขยะ” ปักธงรุก 2560 “Set Zero Waste School” เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการจัดการขยะในสถานศึกษาสู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนและเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนในการขับเคลื่อนการจัดการขยะในสถานศึกษา

– สพฐ.ตั้งเป้าหมายให้ ปี 2561 เป็น “ปีแห่งการปฏิบัติ”  โรงเรียนของ สพฐ.ทุกแห่งต้องไร้ขยะ เนื่องจาก สพฐ.ได้เริ่มสร้างความตระหนัก สร้างจิตสำนึกการลดใช้พลังงาน จัดการขยะ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้แก่หน่วยงานทั้งเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียน ครู นักเรียน ตั้งแต่ปี 2559-2560  ซึ่งเมื่อเราได้สร้างความตระหนักไปแล้วต่อไปก็ต้องนำไปสู่การปฏิบัติ โดยต้องมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน ซึ่งอาจจะเป็นลักษณะงบประมาณแลกเป้า โดยเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตจะต้องลดเรื่องของการจัดกิจกรรม แต่เน้นการปฏิบัติที่เป็นไปตามบริบทของโรงเรียน และต้องผลลัพธ์ต้องเกิดที่ตัวเด็ก โดยให้โรงเรียนจัดทำแผนเสนอขึ้นมา สพฐ.จะทำหน้าที่ให้การสนับสนุนและติดตามประเมินผล

– สพฐ. ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการสร้างจิตสำนึกและวินัยในการจัดการขยะ น้ำเสีย และมลพิษทางอากาศในสถานศึกษา ในปี 2559 – 2560 โดยได้กำหนดนโยบายด้านการสร้างวินัยในสถานศึกษา การจัดการขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เน้นโรงเรียนปลอดขยะ โดยกำหนดให้เขตพื้นที่การศึกษา 225 เขตทั่วประเทศ ทำบันทึกข้อตกลงกับโรงเรียนให้ดำเนินการเรื่องการจัดการขยะในสถานศึกษา โดยร่วมบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในปี 2559 ได้คัดเลือกโรงเรียนตัวอย่าง 20 โรงจากโรงเรียนที่เข้าโครงการ 15,000 โรง เป็นโรงเรียนนำร่อง ส่วนในปี 2560 ได้ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศขยายผลให้ครบทุกโรงเรียน และให้คัดเลือกโรงเรียนลำดับ 1-3 ของโรงเรียนต้นแบบระดับเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถอดบทเรียน เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการวางแผนการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2561 ต่อไป

ที่มา ; เดลินิวส์  

ข่าวเกี่ยวกัน

สพฐ.เปิดศูนย์เรียนรู้ลดใช้พลังงาน-จัดการขยะ(ข่าว)

– สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กระทรวงพลังงาน และอีกหลายหน่วยงาน ร่วมกันเปิดศูนย์การเรียนรู้ลดใช้พลังงาน การจัดการขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในพื้นที่นำร่องสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.) ขอนแก่น เขต 3 ให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่นักเรียน และประชาชน เรื่องการใช้พลังงานและสร้างจิตสำนึก ด้านการบริหารจัดการขยะการลดปริมาณขยะ ใช้ประโยชน์จากขยะ และน้ำเสียจากขยะ ในสถานศึกษาสู่ชุมชน

– สพฐ.มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบสิ่งแวดล้อม จำนวน 15,000 โรง เพื่อลดปริมาณขยะในสถานศึกษาให้ได้มากที่สุด และสร้างองค์ความรู้รวมถึงจิตสำนึกการนำขยะมาใช้ประโยชน์

– ภายในศูนย์การเรียน จะมีฐานการเรียนรู้ที่พร้อมให้บริการสาระความรู้การลดใช้พลังงาน การจัดการขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำนวน 10 ฐาน ดังนี้ ฐานศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน, ฐานโลกไร้ตะวันสะกิตคิด พิชิตลดโลกร้อน, ฐานน้ำใช้รู้ใช้น้ำ, ฐานพลังงานเพื่อชีวิต, ฐานบ้านประหยัดพลังงาน, ฐานเส้นทางชีวิต ของผลิตภัณฑ์ LCA, ฐาน Zero waste, ฐานอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, ห้องเรียนสีเขียว และฐานความหลากหลายทางชีวภาพ

ที่มา ; สยามรัฐ 

ขยายประเด็นข่าว

การดำเนินงานโครงการโรงเรียนปลอดขยะ ZERO WASTE

1.ระดับเขตพื้นที่การศึกษา

  1. จัดทำ MOU ในระดับ สพท./ กศจ. กับ โรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  2. ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาดำเนินการตามนโยบายโรงเรียนปลอดขยะ(Zero Waste School)

ขั้นตอนดำเนินงาน

    1. สพท./กศจ.ดำเนินการตามแนวทางการจัดการขยะ 1A3Rs และ ZERO   WASTE ในระดับโรงเรียน รูปแบบต่างๆ

    2. การส่งเสริมการคัดแยกขยะ ด้วยเช่น ธนาคารขยะรีไซเคิล ร้าน  0  บาท ฯ

    3. สพท./กศจ.เก็บรวบรวมข้อมูลและจัดทำข้อมูลสารสนเทศ การลดปริมาณขยะและคัดแยกขยะในสถานศึกษา ในรูปแบบของ Carbon footprint และ carbon  Emission ตามข้อมูลของ สพฐ. เพิ่มเติม ในโรงเรียน

    4. การบูรณาการเรื่องการจัดการขยะในสาระการเรียนรู้ด้านการจัดการขยะ  ด้วยรูปแบบการ LCA หรือ อื่นๆ (สถานศึกษา) 

    5. ดำเนินการจัดประกวดโรงเรียนปลอดขยะสู่ชุมชนปลอดขยะ

    6. ดำเนินการประกวดโรงเรียนจัดแผนการเรียนรู้เรื่องขยะ

    7. ดำเนินการประกวดสื่อ /นวัตกรรม เพื่อโลกสวย ด้วยการลดขยะ

    8. นำกิจกรรมเข้าสู่ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

2.ระดับสถานศึกษา

  – โรงเรียน. จัดทำ MOU กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(ผู้นำชุมชน)และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนดำเนินงาน

    1.กำหนดนโยบายด้านการจัดการขยะตามรูปแบบของโรงเรียน ZERO WASTE

    2.ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการคัดแยกขยะ 4 ประเภท ได้ ขยะทั่วไป ขยะย่อยสลาย ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย

    3.ส่งเสริมกิจกรรม 1A3R ลดขยะในสถานศึกษา

    4.จัดให้มีการ MOU การดำเนินการด้านการจัดการขยะ ระหว่างโรงเรียนและชุมชน ให้เป็นโรงเรียนปลอดขยะ

   5.จัดให้มีการบูรณาการ ด้านการจัดการขยะ ในหลักสูตรสาระแกนกลาง หลักสูตรเพิ่มเติม กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ตั้งแต่ระดับอนุบาล – ช่วงชั้นที่4

   6.เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนเริ่มดำเนินการจัดการขยะ และมีการเปรียบเทียบ จัดทำระบบสารสนเทศในการจัดการขยะตามแนวการดำเนินงานตามรูปแบบ ที่ สพท. กำหนด พร้อมรายงานให้ สพท. กศจ. เพื่อจัดส่ง ให้ สพฐ.

  7.จัดให้มีค่าย กิจกรรมรณรงค์ 1A3Rs ให้มีความรู้ด้านการคัดแยกขยะและจัดการขยะตามหลักประชาสัมพันธ์

  8.สรุปรายงานการดำเนินการจัดการขยะในโรงเรียน

3.ระดับชุมชน/ระดับเครือข่าย

   9.จัดการประกวดบ้านคัดแยกขยะหรือลดปริมาณขยะ

  10. จัดเวทีแลกเปลี่ยนระหว่างโรงเรียนและชุมชนด้านการจัดการขยะและแก้ปัญหาขยะร่วมกัน

  11. มีศูนย์ถ่ายทอดการเรียนรู้ด้านการจัดการขยะที่ยั่งยืนสำหรับโรงเรียนและชุมชน

ระดับเครือข่าย

  12.มีบุคลากรเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะในสถานศึกษา เช่น  กศจ. ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน มีส่วนร่วมในการให้ความรู้ และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียนและโรงเรียน

  13. มีเครือข่ายด้านการจัดการขยะ ทางอิเล็กโทรนิก  เช่น face book ฯลฯ  (ผู้นำเยาวชนลดขยะ)

หลักการ 3R ประกอบด้วย

   R = (REDUCE) ; คือ การลดปริมาณการใช้วัสดุสิ่งของต่างๆ ที่ต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นตัวผลิต ให้น้อยลง การใช้อย่างประหยัดและรู้คุณค่าหรือใช้เท่าที่มีความจำเป็น เช่นไฟฟ้า เพราะหากมีการใช้มากก็ต้องมีการผลิตมาก เมื่อผลิตมากก็ต้องสิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติมากตามไปด้วย ซึ่งการผลิตกระแสไฟฟ้า อาจจะใช้พลังงานน้ำ พลังงานนิวเคลียร์ ก๊าซธรรมชาติหรือถ่านหิน ถ้าหากเราลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าให้น้อยลงได้ก็ย่อมที่จะช่วยลดปริมาณการใช้ทรัพยากรในการผลิตให้น้อยลงเช่นกัน ซึ่งนั่นก็หมายถึงการประหยัด รายจ่ายของตนเอง ครอบครัว ประเทศชาติและช่วยรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ให้มีสภาพ ที่ดีให้คงอยู่คู่โลกไปอีกนาน

    R = (REUSE) คือการนำเอาวัสดุสิ่งของที่เป็นของเก่ามาใช้ซ้ำรวมทั้งไม่ใช้หรือไม่สนับสนุน การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้เพียงครั้งเดียวแล้วต้องทิ้ง เช่นการใช้ผ้าเช็ดหน้าแทนการใช้ผ้าเย็นหรือกระดาษทิชชู เพราะผ้าเช็ดหน้าเมื่อสกปรกสามารถทำความสะอาดแล้วใช้ซ้ำได้ แต่กระดาษทิชชูหรือผ้าเย็นใช้ไปเพียง ครั้งเดียวก็ต้องทิ้งและต้องหาซื้อมาใช้ใหม่ ซึ่งเมื่อมีการปฏิบัติในลักษณะดังกล่าวมากๆก็จะทำให้เกิดมีขยะมาก ต้องมีการกำจัดขยะอาจจะเป็นด้วยการเผา และเมื่อมีการเผาสิ่งแวดล้อมก็ถูกทำลายหรือไม่ก็ฝังกลบ ซึ่งตาม ความเป็นจริงแล้วการกำจัดขยะด้วยวิธีนี้เป็นเพียงการซื้อเวลารอความหายนะที่จะตามมาเท่านั้น เพราะเป็นการ แก้ปัญหาเก่าด้วยปัญหาใหม่

     R = (RECYCLE) คือการแปรรูปหรือแปรสภาพสิ่งของที่ใช้ไม่ได้แล้วและจำเป็นจะต้องทิ้ง ให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่นกระป๋องบรรจุน้ำอัดลม แก้วน้ำพลาสติก ที่ความจริงเราใช้ระยะเวลา ในการดื่มเพียงเล็กน้อย ซึ่งในการผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระป๋องน้ำอัดลมนั้น ในแต่ละใบต้องใช้พลังงาน ในการผลิตอย่างมากมายมหาศาล แต่ส่วนที่เหลือจากการใช้กลับกลายเป็นขยะกองโตที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อ สิ่งแวดล้อม หากในโรงเรียนซึ่งส่วนใหญ่จะมีขยะประเภทนี้อยู่มากจะได้เล็งเห็นความสำคัญ ด้วยการ แยกประเภทของขยะ นอกจากจะมีรายได้จากการจำหน่ายขยะเหล่านั้นยังจะมีส่วนช่วยให้เกิดการแปรรูป ผลิตภัณฑ์เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ นั่นก็หมายถึงการประหยัดทรัพยากรธรรมชาติของประเทศและของโลกได้อีกมาก

Share This Article
Exit mobile version