แนะนำแนวทางการอ่านหนังสือ เตรียมสอบครูผู้ช่วย

แนะนำแนวทางการอ่านหนังสือ เตรียมสอบครูผู้ช่วยเพื่อสร้างมาตรฐานให้ตนเอง

เตรียมความพร้อม

1. สิ่งที่ควรทำก่อนที่จะเริ่มอ่านหนังสือ คือการหาความรู้และประสบการณ์จากการสอนนักเรียนจากโรงเรียนก่อน เพราะเราจะได้รู้ว่าบริบทของการสอนนักเรียนในโรงเรียนเป็นอย่างไร อาจจะสมัครเป็นครูอัตราจ้าง หรือครูผู้สอนก่อน เพื่อให้เรามีประสบการณ์จากการสอนจริง ๆ ขณะนั้นก็ทำการสมัครสอบครูผู้ช่วยไปพร้อม ๆ กันครับ

2. หาความรู้จากผู้ที่เคยสอบมาก่อน โดยการสอบถามจากรุ่นพี่ หรือรุ่นน้องที่เคยสอบผ่านมาก่อน ว่าต้องเริ่มจากอ่านอะไร มีวิธีอ่านอย่างไร ติวที่ไหน หรืออ่านตรงไหนบ้าง และควรเริ่มทำข้อสอบเก่าเยอะ ๆ  

3. เริ่มอ่านจาก พรบ. ต่าง ๆ , กฏหมายทางการศึกษา ,  กฏหมายคุ้มครองเด็ก โดยเริ่มจากการอ่านเนื้อน้อย ๆ ก่อน แล้วเริ่มไปที่ส่วนที่มีเนื้อหาเยอะ ๆ อ่านทั้งหมดเก็บให้หมดทุกส่วน และทำความเข้าใจในเนื้อหา ถ้าเราอ่านเพื่อจำ จะทำให้เราจำเนื้อหาไม่ได้ทั้งหมด เราต้องเข้าใจในเนื้อหา

4. ดูข่าวในทีวี อ่านหนังสือพิมพ์ รับฟังข่าวสารเหตุการณ์บ้านเมืองให้เยอะ เพราะในข้อสอบจะมีการนำข่าวสารต่าง ๆ ในปัจจุบันมาออกข้อสอบเป็นจำนวนมาก

5. อ่านเนื้อหาวิชาเอกที่ตนเองจบมาให้ครบ ทบทวนหลาย ๆ รอบ และทำสมุดจดรวบรวมเนื้อหาทั้งหมด เก็บไว้อ่านสรุปเป็นข้อ ๆ ในเรื่องที่เรายังจำไม่ได้ ทำซ้ำ ๆ กันจนสามารถจดจำเนื้อหาได้ทั้งหมด

6. ให้คิดเสมอว่าเราต้องใช้ความพยายามมาก ๆ เพื่อให้เราสอบให้ได้ในครั้งเดียว อย่าปล่อยเวลาให้สูญเปล่า แล้วจะต้องมานั่งเสียใจภายหลัง

How To จัดตารางอ่านหนังสือ

1. เลือกเวลาที่เหมาะสม คือเวลาที่ต้องการจะอ่าน,ว่างจากงานอื่น,มีความพร้อมอยากที่จะอ่าน จะเห็นผลแล้วจำได้ดีที่สุด

2. วางลำดับวิชาและเนื้อหา คือเอาวิชาที่ชอบและถนัดก่อนเราจะอ่านได้เยอะและเร็ว จะได้มีกำลังใจต่อไป มีการวางแผน รายการเนื้อหา บทที่จะอ่าน แล้วลงมือทำตามแผนที่วางไว้

3. ลงมือทำ คือตามหัวข้อเลยครับ เราต้องทำทุกอย่างที่วางแผนไว้ อย่างตั้งใจ ความสำเร็จเรากำหนดเองได้

4. ตรวจสอบผลงาน คือการที่แตกฉานวิชาความรู้ นำไปติวเพื่อน แลกเปลี่ยนความคิด ยิ่งถ้าเราติวเพื่อนได้ ตรงนี้เราจะเกิดความชำนาญในเนื้อหานั้นๆ คงทนและฝังแน่น

ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการอ่านหนังสือคือ ช่วงเวลาเช้ามืด ตั้งแต่เวลา 03.00 – 07.00 น. เพราะเป็นที่สมองว่าง ปลอดโปร่ง และตื่นตัว พร้อมรับกับสิ่งใหม่ๆ ที่จะเข้ามา เหมาะสำหรับการอ่านหนังสือเตรียมสอบมากที่สุด และควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้สมองมีความพร้อมสำหรับรับเนื้อหา ความรู้ นอกจากนี้แล้วการอ่านหนังสือในช่วงเช้า ยังเป็นเวลาที่เงียบสงบ เราจึงมีสมาธิในการอ่านมากที่สุด  ส่วนในช่วงเวลาบ่าย เป็นช่วงเวลาที่สมองได้รับความหนื่อยล้าจากการทำงาน ทำให้ไม่มีสมาธิในการอ่านหนังสือมากนัก เป็นอย่างไรบ้างค่ะสำหรับเทคนิคดี ๆ ในการเตรียมตัว สำหรับใครที่เตรียมตัวสำหรับการสอบในครั้งนี้

การสอบครูผู้ช่วยภาค ก ความรู้ความสามารถทั่วไป

โดยมีคะแนนเต็มอยู่ที่ 200 คะแนน ซึ่งแบ่งเป็นข้อสอบปรนัย 3 ส่วน คือ

1. ความสามารถในการวิเคราะห์ (100 คะแนน)ในส่วนนี้การคิดวิเคราะห์เชิงภาษา คือ การใช้ภาษาไทยเพื่อสื่อสารและ ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย การจับใจความสำคัญ การสรุปความ การตีความหมาย ข้อความ หรือสถานการณ์ต่างๆ โดยแบ่งเป็น 2 หัวข้อย่อยๆ ได้แก่

     1.) การคิดวิเคราะห์เชิงนามธรรม ได้แก่ การคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงคำ ข้อความ หรือรูปภาพ ตลอดจนการหาข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อความ สัญลักษณ์ รูปภาพ สถานการณ์ หรือแบบจำลองต่างๆ
     2.) การคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ ได้แก่ ความเข้าใจ ความคิดรวบยอด และแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น การเปรียบเทียบและวิเคราะห์เชิงปริมาณ ตลอดจนการประเมินความเพียงพอของข้อมูล

2. ทักษะภาษาอังกฤษ (50 คะแนน) ในส่วนนี้เป็นการวัดความเข้าใจหลักการสื่อสาร ในการใช้ศัพท์ สำนวน และโครงสร้างประโยคที่เหมาะสม ทั้งในเชิงความหมาย และบริบท รวมไปถึงการวัดความสามารถด้านการอ่าน โดยทดสอบการทำความเข้าใจในสาระของข้อความหรือบทความ และการวัดความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษ ในระดับเบื้องต้นอีกด้วย

3. ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี (50 คะแนน) วัดความรู้ที่เป็นพื้นฐานของการเป็นข้าราชการที่ดี ได้แก่ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง นห้าที่และความรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตลอดจนเเจตคติและจริยธรรมสำหรับข้าราชการ

การสอบครูผู้ช่วยภาค ข เป็นการสอบมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ

โดยมีคะแนนเต็ม 200 คะแนน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

       1. มาตรฐานความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน (วิชาเอก) (100 คะแนน) เป็นการทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย ในเรื่องต่อไปนี้
        1.1) การเปลี่ยนแปลงบริบทของโลก สังคม และแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
        1.2) จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการศึกษา และจิตวิทยาให้คำปรึกษาในการวิเคราะห์และพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
        1.3) หลักสูตร ศาสตร์การสอน และการใ้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้
        1.4) การวัดประเมินผลการเรียนรู้และการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน
        1.5) การออกแบบและการดำเนินการเกี่วกับงานประกันคุณภาพการศึกษา

      2. มาตรฐานความรู้ทั่วไปในการจัดการเรียนการสอน (75 คะแนน) เป็นการทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย


      3. ความรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน (25 คะแนน) เป็นการทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย ในเรื่องต่อไปนี้
        3.1) กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฎิบัติงาน ที่บังคับใช้ในปัจจุบัน
               1. รัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
               2. กฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ
               3. กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
               4. กฎหมายว่าด้วยระเบียข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
               5. กฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
               6. กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
               7. กฎหมายว่าด้วยคุ้มครองเด็ก
               8. กฎหมายว่าด้วยการศึกษาปฐมวัย
        3.2) แนวทางปฏิรูปการศึกษา ที่บังคับใช้ในปัจจุบัน
               1. ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
               2. แผนการศึกษาแห่งชาติ
               3. นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ

การสอบครูผู้ช่วยภาค ค เป็นประเมินจากการสัมภาษณ์

โดยมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน ซึ่งในส่วนนี้วัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง วิชาชีพ และการปฏิบัติงานในสถานศึกษา แล้วแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

       1. คุณลักษณะส่วนบุคคล (25 คะแนน) เป็นประเมินจากการสัมภาษณ์ ดังนี้
          1.1) บุคลิกลักษณะ ท่วงทีวาจา
          1.2) วุฒิภาวะทางอารมณ์และการมีปฏิภาณการแก้ปัญหา
          1.3) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เจตคติ และอุดมการณ์ความเป็นครู
      2. การพัฒนาตนเองและวิชาชีพ (25 คะแนน) ประเมินจากแฟ้มสะสมผลงาน ดังนี้
           2.1) ประวัติการศึกษา
           2.2) ผลงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพและวิชาเอกที่สำเร็จการศึกษา
           2.3) การเข้าถึงชุมชน และการมีจิตสาธารณะ
      3. ความสามารถด้านการสอน (50 คะแนน) ประเมินจากการสอบสาธิต การปฏิบัตการสอน โดยให้มีการบันทึกภาพและเสียงในรูปแบบวิดีโอในขณะประเมินไว้เป็นหลักฐานด้วย ดังนี้
          3.1) การวิเคราะห์หลักสูตร การออแบบและการวางแผนการจัดการเรียนรู้
          3.2) ทักษะและวิธีการสอนที่เหมาะสมกับสาขาวิชาและบริบทของชั้นเรียน
          3.3) ทักษะการใช้คำถามและการตอบสนองต่อพฤติกรรมผู้เรียน
          3.4) การใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้
          3.5) การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้

อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ https://krutortao.com/

กระทรวงศึกษาธิการ ข่าวสอบครูผู้ช่วย https://www.moe.go.th/

Share This Article
Leave a comment

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Exit mobile version