อนาคตของการศึกษาไทย

การเรียนออนไลน์นั้น มีข้อจำกัดเรื่องความพร้อมส่วนบุคคล โดยเฉพาะในโรงเรียนที่อยู่ชายขอบ ที่คุณครูเองก็ยังไม่มีความคุ้นชินกับโปรแกรมต่าง ๆ ในการสอนออนไลน์ นักเรียนไม่มีอุปกรณ์ รวมถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ไม่ค่อยดีนัก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องวางแผนอย่างจริงจังว่า จะสนับสนุนคุณครูอย่างไร ต้องประเมินความพร้อมอย่างรอบด้าน เป้าหมายที่แท้จริงของการศึกษา คือ การพัฒนาผู้เรียน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การถกเถียง การมีปฏิสัมพันธ์กัน ถึงแม้ว่าการเรียนออนไลน์จะมีข้อจำกัด และอุปสรรคบ้างแต่ “ วิกฤตในครั้งนี้ทำให้สถาบันการศึกษา โรงเรียน เด็กๆ ครูผู้สอนมีการปรับตัวให้ชินกับการเรียนแบบออนไลน์ ”  แต่ก็ไม่ใช่ทุกวิชา หรือทุกคณะจะเปลี่ยนมาสอนออนไลน์ได้ทั้งหมด เพราะต้องคำนึงถึงความเหมาะสม และประสิทธิภาพของการสอน ที่สำคัญที่สุด คือ “ทำห้องเรียนออนไลน์” ยังไงเพื่อทดแทน “ห้องเรียนออฟไลน์” หรือห้องเรียนจริง ๆ ให้ได้ส่วนสำคัญที่สุด คือ “ปฏิสัมพันธ์” (ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล) อนาคตของการศึกษาไทย

อนาคตของการศึกษาไทย

รูปภาพจาก cpgroupglobal.com

คาดการณ์ การศึกษาไทยในอนาคต

การเรียนออนไลน์ผ่านเทคโนโลยีที่เป็นจริงได้ในวันนี้ ก็เพราะความพร้อม และการพัฒนาของเทคโนโลยีเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการศึกษา ทำให้การศึกษาเกิดนวัตกรรมการเรียนรู้แบบใหม่ที่ไม่เคยคาดคิด เกิดการร่วมมือกัน ระหว่าง ภาครัฐ และเอกชน พัฒนาช่องทางการเรียนรู้แบบใหม่ สร้างนวัตกรรมส่งเสริม สนับสนุนการเรียนการสอนออนไลน์ เช่น แพลตฟอร์มการเรียนทั้งแบบออนไลน์ และการถ่ายทอดสดผ่านทางโทรทัศน์ รวมทั้งพัฒนาระบบสารสนเทศพื้นฐานที่เอื้อกับการเรียนรู้อื่น ๆ เสริมเข้าไปด้วย

ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่จะเกิดขึ้น จากโอกาสในการเข้าถึงสารสนเทศที่ไม่เท่าเทียม การเรียนออนไลน์เป็นหนึ่งในวิธีแก้ปัญหาในสถานการณ์ โควิด-19 และทำได้จริงมากที่สุด แต่การทำลักษณะนี้ได้ ประเทศนั้นต้องมีโครงการการสื่อสาร และอินเทอร์เน็ตที่ดีและราคาถูก ทุกคนเข้าถึงได้ รวมถึงความเหลื่อมล้ำในเรื่องของอุปกรณ์ที่จะเชื่อมต่อ แต่ก็ต้องต้องยอมรับว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตอบรับเทคโนโลยีเหล่านี้ การเข้ามาของการเรียนออนไลน์ ยิ่งทำให้เด็กยากจนและผู้ที่เข้าไม่ถึงเทคโนโลยี ถูกละทิ้งและมองข้ามไป

แล้วเราจะเตรียมนักเรียนให้พร้อม หากต้องเจอสถานการณ์เช่นเดิม อย่างไร?

ที่ผ่านมาเราก็ได้สะท้อนวิกฤติครั้งนี้ ว่าจะเปลี่ยนแปลงเรื่องการศึกษาใหม่สำหรับเด็กในอนาคต เราควรสอนอะไร และเตรียมนักเรียนให้พร้อมกับสถานการณ์แบบไหน ระบบการศึกษาที่ต้องปรับตัวพัฒนานวัตกรรม เปลี่ยนการเรียน “ออฟไลน์” มาเป็น “ออนไลน์” ได้อย่างเต็มรูปแบบ และ 4 บทเรียนที่เราจะต้องเตรียมนักเรียนของเราเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์เช่นเดิม

สอนให้รุ่นต่อไปอยู่ในโลกที่เชื่อมต่อกัน

จากสถานการณ์การระบาดของ โควิด 19 เปลี่ยนแปลงโลก ทำให้เราเห็นภาพว่าโลกเราเชื่อมต่อกันขนาดไหน ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า พฤติกรรม “โดดเดี่ยว” อีกต่อไปแล้ว คนที่ประสบความสำเร็จอนาคตจะ ต้องเป็นคนที่เข้าใจความสัมพันธ์กันของโลก และสามารถหาเส้นทางข้ามขีดจำกัด ใช้ความแตกต่างให้เป็นประโยชน์ และทำงานด้วยวิธีที่ใช้ความร่วมมือจากโลกที่เชื่อมต่อกัน 

คำจัดกัดความใหม่ของ “ครู”

คำพูดที่ว่า “ครูเป็นผู้กำความรู้ที่จะสร้างสติปัญญาของนักเรียน” ไม่ใช่คำพูดที่ตรงกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 อีกต่อไป เมื่อนักเรียนสามารถแสวงหาความรู้ หรือทักษะได้ทางออนไลน์ เราต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของครูในห้องเรียน

การสอนที่น้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

เป็นการที่กระบวนการสอน การจัดการเรียนการสอน แต่เป็นการจัดการศึกษาที่ถูกกำหนด้วยความป็นมาตรฐานด้านการพัฒนาผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานการศึกษาของชาติมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและมาตรฐานหลักสูตร ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานระดับใด เรื่องใด จะต้องส่งเสริมให้เกิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เเรียนเป็นสำคัญ ทั้งสิ้นที่จะช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะความรู้ ความสามารถ ซึ่งที่ผ่านมาครูผู้สอนมีทัศนคติในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนในแบบเดิม ๆ ครูเป็นผู้ให้ความรู้เพียงอย่างเดียว เป็นสาเหตุหน่ึงที่ไม่อาจตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนไม่อาจบรรลุผลในด้านต่างๆ ได้ ทำอย่างไรครูจึงจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเรียนรู้ในสิ่งที่สนใจ เรียนรู้จากประสบการณ์จริงในชีวิตประจำวันและจนกระทั่ง ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ครูผู้สอนเองควรตระหนัก และให้ความสำคัญไม่ว่า จะเป็นการติดต่อและร่วมมือกับนักเรียน ผู้ปกครอง ครูคนอื่นหรือแม้กระทั่งนำการศึกษาที่จะช่วยกันวางแผนและปรับปรุงการสอนให้ผู้เรียนได้ประสบความสำเร็จในการเรียน

ทักษะชีวิตที่จำเป็นในอนาคต

ในสภาพแวดล้อมที่โลกเปลี่ยนแปลงไป เด็กจะต้องมีความยืดหยุ่น และสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองได้ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นที่จะหาเส้นทางฝ่าฟันวิกฤติครั้งนี้ ทักษะที่สำคัญที่สุดที่เป็นที่จับตามองในตอนนี้ คือ ความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการสื่อสาร และความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ควบคู่ไปกับความสามารถในการเข้าใจ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น และมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ 

รูปภาพจาก https://www.scgfoundation.org/

ปลดล็อกเทคโนโลยีที่จะช่วยส่งเสริมการศึกษา

การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้สถาบันการศึกษา โรงเรียน ต้องปรับตัวใช้เครื่องมือเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว และสร้างบทเรียนเพื่อการเรียนทางไกลให้กับนักเรียนในทุกระดับชั้น ครูทั่วประเทศกำลังเผชิญกับความเป็นไปได้ที่จะได้ทำอะไรที่แตกต่าง และแตกต่างด้วยความยืดหยุ่น ที่จะเกิดประโยชน์ในการเข้าถึงการศึกษาของเด็กทุกคนในประเทศไทย

จากวิกฤตโควิด-19 ในครั้งนี้สิ่งที่สำคัญที่สุด เด็ก ๆ จะใช้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ เรียนรู้การเรียนจากทางไกล เรียนออนไลน์ ทิ้งระยะห่างทางสังคม แยกจากเพื่อน แยกจากครู อาจารย์ ไม่ได้อยู่ในห้องเรียน เป็นการเตือนใจถึงความสำคัญของ ความต้องการของมนุษย์กับการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมแบบตัวต่อตัว และที่สำคัญอีกอย่าง ครู หรืออาจารย์ก็จะต้องเปลี่ยนบทบาทจากการสอนในห้องเรียน หรือชั้นเรียนมาเป็นผู้สร้างเนื้อหา บทเรียน ให้เหมาะสมกับผู้เรียน บริบท และสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถก้าวทันโลกที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต

“ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะไปจุดประกายและทำให้นักเรียนมีความเชื่อมั่นว่า เขาสามารถไปในจุดไหนก็ได้ที่เขาอยากไป จากนั้นเขาจะมีความตั้งใจเรียนและแสวงหาความรู้ด้วยตัวเอง ครูจะไปเติมคุณลักษณะของเด็กให้มีความพร้อม และหลังจากเรียนครบ 2 ปีแล้ว เด็กก็ยังคงเก็บทักษะและคุณสมบัติเหล่านั้นไปเพื่อต่อยอดให้กับตัวเองได้ นอกจากนี้ ตัวคุณครูเองก็จะได้พัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ และสามารถไปทำงานเพื่อพัฒนาการศึกษาในแต่ละภาคส่วนที่ตัวเองทำอยู่ต่อไป กลายเป็นผลกระทบในวงกว้างซึ่งจะแก้ไขปัญหาการศึกษาไทยระดับประเทศ”

ปัจจุบันประเทศไทยมีองค์กรเพื่อการศึกษามากมายที่มุ่งพัฒนาและแก้ไขปัญหา ซึ่งต่างมีองค์ความรู้ เครื่องมือ และรูปแบบที่มีประสิทธิภาพ แต่ติดตรงที่ยังเข้าไม่ถึงการแก้ไขปัญหาในเชิงระบบ ทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นหากภาครัฐเปิดกว้างและหันหน้ามาทำงานกับภาคเอกชนมากขึ้นได้ เชื่อมั่นว่าจะเกิดความร่วมมือที่สามารถพัฒนาการศึกษาไทยให้ดีขึ้นด้วย

อ่านข่าวอื่นๆเพิ่มเติมที่ >> https://krutortao.com/

Share This Article
Exit mobile version