ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี 2564

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี 2564 ครูตอเต่า krutortao

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี 2564 ครูตอเต่า krutortao

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี 2564 ครูตอเต่า krutortao

ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี 2564 (รายชื่อผู้ได้รับพระราชทานฯ ของกระทรวงศึกษาธิการ หน้า 154 เป็นต้นไป) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย รวมทั้งสิ้น 15,242 ราย ประกอบด้วยชั้นสายสะพาย จำนวน 14,707 ราย และชั้นต่ำกว่าสายสะพายสำหรับบุคคลบางประเภท จำนวน 535 ราย เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2564

ขอขอบคุณที่มา ราชกิจจานุเบกษา

ราชกิจจานุเบกษา 

(อังกฤษ: Royal Thai Government Gazette, เรียกสั้น ๆ ว่า Government Gazette) เป็นหนังสือรวบรวมคำประกาศของทางราชการ โดยเริ่มจัดพิมพ์ขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเมีย นพศก จุลศักราช 1219 ตรงกับวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2401 เพื่อชี้แจงข่าวคลาดเคลื่อนที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ (บางกอกรีคอเดอ)[1] เป็นเอกสารหลักในการแจ้งประกาศ กฎหมาย และคำสั่งทางราชการให้ประชาชนทราบอย่างเป็นทางการจวบจนปัจจุบันนี้ นับเป็นสิ่งพิมพ์ของไทยที่มีอายุยาวนานที่สุด[2] โดยมีสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบจัดพิมพ์และเผยแพร่

ประเภทของราชกิจจานุเบกษา

  1. ประเภท ก ฉบับกฤษฎีกา เป็นการประกาศเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระบรมราชโองการที่เป็นกฎ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่ง ของหน่วยงานหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เป็นอนุบัญญัติ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนด และเรื่องสำคัญที่ประชาชนทั่วไปควรได้รับทราบ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้ง คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คำพิพากษาของศาลปกครอง
  2. ประเภท ข ฉบับทะเบียนฐานันดร หมายกำหนดการ และข่าวในพระราชสำนัก เป็นการประกาศเกี่ยวกับสถาปนาและถอดถอนสมณศักดิ์ รายชื่อผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญราชการ หรือยศ รายชื่อผู้ถูกเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือถูกถอดยศ และรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเหรียญตราต่างประเทศ หมายกำหนดการพระราชพิธี ต่าง ๆ และข่าวในพระราชสำนัก
  3. ประเภท ค ฉบับทะเบียนการค้า เป็นการประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด การเปลี่ยนแปลง และการเพิกถอนทางทะเบียน
  4. ประเภท ง ฉบับประกาศและงานทั่วไป เป็นการประกาศเรื่องอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุในประเภท ก ประเภท ข และประเภท ค

  ทางหอสมุดแห่งชาติ เคยอธิบายเกี่ยวกับ ราชกิจจานุเบกษา ผ่านทวิตเตอร์ @NLThailand_PR ระบุว่า ราชกิจจานุเบกษา คือ หนังสือพิมพ์ข่าวที่รวบรวมคำประกาศต่าง ๆ ของทางราชการ เริ่มพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2401 แต่พิมพ์ได้เพียง 1 ปี ก็หยุด ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงจัดพิมพ์เผยแพร่อีกครั้ง และพิมพ์มาถึงปัจจุบัน

  • การบอกรับสมาชิกราชกิจจานุเบกษา

ราชกิจจานุเบกษา มีการเปิดรับสมัครสมาชิก โดยจะเริ่มเปิดรับสมัครตั้งแต่เดือนกันยายนถึง 30 พฤศจิกายน ของทุกปี โดยแยกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ การสมัครเป็นสมาชิกบอกรับราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกานั้นจะต้องติดต่อที่กลุ่มงานราชกิจจุนเบกษา สำนักนิติธรรม สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ขณะที่ การสมัครเป็นสมาชิกบอกรับหนังสือราชกิจจานุเบกษาประเภท ข ค และ งจะอยู่ในความรับผิดชอบของ กลุ่มงานพิมพ์บริการ สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา โดยมี หลักเกณฑ์คร่าวๆ ดังนี้

  • การบอกรับต้องบอกรับเต็มปี (มกราคม – ธันวาคม) หรือครึ่งปี (มกราคม – มิถุนายน หรือ กรกฎาคม – ธันวาคม) จะรับคาบปี หรือคาบครึ่งปีไม่ได้
  • การบอกรับหรือซื้อปลีกต้องชำระเงินล่วงหน้า
  • หนังสือราชกิจจานุเบกษาตอนใด ถ้าไม่ได้รับให้แจ้งขอภายใน กำหนด 2 เดือน เกินกำหนดจะไม่รับพิจารณา

โดยในปัจจุบัน เราสามารถเข้าไปสืบค้น ราชกิจจานุเบกษาได้ที่ เว็บไซต์ของราชกิจจานุเบกษา หรือ คลิกที่นี่ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง 


Share This Article
Exit mobile version