แบบวินิจฉัยการอ่านและการเขียนพร้อมทั้งชุดแบบฝึกซ่อมเสริมการอ่านและการเขียนภาษาไทย Active Learning 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้

Active Learning 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้

แบบวินิจฉัยการอ่านและการเขียนพร้อมทั้งชุดแบบฝึกซ่อมเสริมการอ่านและการเขียนภาษาไทย Active Learning 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้

เข้าร่วมกลุ่มข่าวฟรีที่นี่ คลิ๊กเลย

Active Learning 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้

ครูตอเต่าขอแนะนำไฟล์แบบวินิจฉัยการอ่านและการเขียนพร้อมทั้งชุดแบบฝึก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 57 เรื่อง

เพื่อแก้ไขปัญหา Learning Loss จากโครงการ “สพฐ. ติดอาวุธความรู้ให้เด็กไทยทุกคนอ่านออกเขียนได้”

Active Learning คืออะไร?

Active Learning จึงเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา (Constructivism) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวก  ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยกระบวนการคิดขั้นสูง กล่าวคือ ผู้เรียนมีการวิเคราะห์  สังเคราะห์ และการประเมินค่าจากสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความหมายและนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สถาพร  พฤฑฒิกุล, 2558)

ลักษณะของการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning  เป็นดังนี้  (ไชยยศ เรืองสุวรรณ, 2553)

1.  เป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

2.  เป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้สูงสุด

3.  ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง

4.  ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนทั้งในด้านการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน

5.  ผู้เรียนเรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการทํางาน และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ

6.  เป็นกระบวนการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด ฟัง คิดอย่างลุ่มลึก ผู้เรียนจะเป็นผู้จัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง

7.  เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิดขั้นสูง

8.  เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูลข่าวสาร หรือสารสนเทศ และหลักการความคิดรวบยอด

9.  ผู้สอนจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง

10. ความรู้เกิดจากประสบการณ์ การสร้างองค์ความรู้ และการสรุปทบทวนของผู้เรียน

แบบวินิจฉัยการอ่านและการเขียนพร้อมทั้งชุดแบบฝึกซ่อมเสริมการอ่านและการเขียนภาษาไทย Active Learning 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้

บทบาทของอาจารย์ผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางของ Active Learning ดังนี้  (ณัชนัน แก้วชัยเจริญกิจ, 2550) จัดให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน กิจกรรมต้องสะท้อนความต้องการในการพัฒนาผู้เรียนและเน้นการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงของผู้เรียน

1.       สร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วม และการเจรจาโต้ตอบที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี

กับผู้สอนและเพื่อนในชั้นเรียน

2.       จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นพลวัต ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมรวมทั้ง

กระตุ้นให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้

3.       จัดสภาพการเรียนรู้แบบร่วมมือ ส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือในกลุ่มผู้เรียน

4.       จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ท้าทาย และให้โอกาสผู้เรียนได้รับวิธีการสอนที่หลากหลาย

5.       วางแผนเกี่ยวกับเวลาในจัดการเรียนการสอนอย่างชัดเจน ทั้งในส่วนของเนื้อหา และกิจกรรม

6.       ครูผู้สอนต้องใจกว้าง ยอมรับในความสามารถในการแสดงออก และความคิดเของที่ผู้เรียน

 “กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สู่สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน” เป็นเอกสารที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพัฒนาขึ้นสำหรับครู โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาครู สนับสนุนครูให้สามารถออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ๕ ประการ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) และสร้างการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ของผู้เรียน อันเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนต่อไป

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นได้ออกแบบกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ผ่านรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ใน ๕ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานขอขอบคุณคณะทำงานทุกท่าน ประกอบด้วยทรงคุณวุฒิศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนที่ช่วยให้เอกสารชุดนี้มีความสมบูรณ์ มีคุณภาพตามหลักวิชาการถูกต้องและเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมในแต่ละระดับชั้น และหวังว่าจะช่วยส่งเสริมให้ครูผู้สอนมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้และทักษะไปใช้ในสถานการณ์จริงได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอน ผู้เรียน และผู้เกี่ยวข้อง ในการนำไปพัฒนาคุณภาพผู้เรียนต่อไป

สามารถดาวน์โหลดไฟล์ในลิ้งก์ด้านล่าง

เล่มที่ 1-2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา

การออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน



เล่มที่ 3-4 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา

การออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน


เล่มที่ 5-6 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา

การออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

เล่มที่ 5-6 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เล่มที่ 5-6 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เล่มที่ 7-8 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา

การออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

เล่มที่ 7-8 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา
เล่มที่ 7-8 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา

เล่มที่ 9-10 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา

การออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

เล่มที่ 9-10 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา
เล่มที่ 9-10 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

เล่มที่ 11 ด้านทักษะทางสังคม กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) เชิงคุณลักษณะของการเรียนรู้ ในมิติของทักษะทางสังคม Social skills

เล่มที่ 11 ด้านทักษะ(Learning Loss) เชิงคุณลักษณะของการเรียนรู้ ในมิติของทักษะทางสังคม Social skills

ครูตอเต่า  ขอบคุณ ที่มา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. (obec.go.th)



นำเสนอโดย นายนันทวิทย์ มหาพงษ์


ครูตอเต่า www.krutortao.com
ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ทุกกรณี

เกี่ยวกับเรา

ครูตอเต่า และ krutortao.com ครูตอเต่าแบ่งปัน สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ แจกฟรี สื่อการสอน แนะนำ สื่อการสอนฟรี สำหรับครู ดาวน์โหลดไฟล์ ใบงาน ใบความรู้ สื่อออนไลน์ แบบฝึกหัด ข้อสอบ ทุกรายวิชา ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ไฟล์เอกสารฟรี ไฟล์หน้าปกฟรี บทความ เอกสารทางการศึกษา ไฟล์เอกสารประเมินวิทยฐานะ อบรมออนไลน์ แบบทดสอบออนไลน์ รายงานการรอบรม เกียรติบัตร เพื่อให้ครูนำไปใช้เป็นในการจัดการเรียนการสอน ให้กับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ติดตามข่าวการศึกษา ข่าวทั่วไป อัพเดททันต่อเหตุการณ์ สอบครูผู้ช่วย แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย รวมทั้งหมดไว้ที่นี่ krutortao.com เว็บไซต์เพื่อการศึกษา และยังสามารถติดตามได้ทางแฟนเพจ ครูตอเต่า อีกช่องทาง เพื่อพัฒนาการศึกษาไทย โดยไม่แสวงหาผลกำไรแต่อย่างใด

Krutortao ครูตอเต่า เป็นเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ และแบ่งปัน ผลงานนครู สื่อการสอน หลักสูตรการอบรมออนไลน์ รับเกียรติบัตร แบ่งปันความรู้ เพื่อนำไปพัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพครู โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และไม่มีการเรียกเก็บเงินใดๆ 

เข้าร่วมกลุ่ม VIP ไม่มีค่าใช้จ่าย !! “ครูตอเต่า” โปรดแตะลิงก์ด้านล่าง

Share This Article
Leave a comment

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Exit mobile version