ครูตอเต่าชวนทำ แบบทดสอบออนไลน์ ทบทวนความรู้ พุทธประวัติ ชุดที่ ๒ เกณฑ์การผ่านการประเมิน ๗๐ คะแนน ได้รับเกียรติบัตร krutortao.com
ขอเชิญชวนทุกท่านทำแบบทดสอบออนไลน์ ทบทวนความรู้ พุทธประวัติ ชุดที่๒ เกณฑ์การผ่านการประเมิน ๗๐ คะแนน ได้รับเกียรติบัตร
การประสูติ
พุทธประวัติ คือ ประวัติความเป็นมาของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ประสูติ อภิเษกสมรส ออกผนวช ตรัสรู้ ประกาศพระศาสนา จนถึงปรินิพพาน
ประสูติ
พระพุทธเจ้า ทรงพระนามเดิมว่า “สิทธัตถะ” พระราชบิดา ทรงพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ ครองกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ปัจจุบันอยู่ทางภาคใต้ของประเทศเนปาล พระราชมารดาทรงพระนามว่า พระนางสิริมหามายา เป็นราชสกุลจากโกลิยวงศ์ กรุงเทวทหะ
ต่อมา เมื่อพระนางสิริมหามายาทรงพระครรภ์จวนประสูตร พระนางมีความประสงค์จะเสด็จกลับไปประสูติที่เมืองเทวทหะตามธรรมเนียมอินเดียสมัยก่อน จึงทูลลาพระสวามี เมื่อขบวนเสด็จถึงสวนลุมพินี ซึ่งเชื่อมต่อกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ ก็ทรงประชวรพระครรภ์และประสูติพระโอรส ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์เหนี่ยวกิ่งสาละ ซึ่งวันนั้น ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เมื่อประสูติแล้วข้าราชบริพารจึงเชิญเสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์หลังจากประสูติได้ 5 วัน พระโอรสได้รับการขนานพระนามว่า “สิทธัตถะ” ซึ่งแปลว่า ผู้สำเร็จในสิ่งที่ทรงประสงค์ และพราหมณ์ 8 นาย ผู้เชี่ยวชาญในการทำนายลักษณะ ได้พยากรณ์ว่า ถ้าพระโอรสนี้ทรงครอบครองบ้านเมืองจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ถ้าเสด็จออกผนวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่โกณทัญญะ พราหมณ์ ผู้มีอายุน้อยที่สุดยืนยันหนักแน่นว่า พระโอรสจะเสด็จออกบวชและได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน หลังประสูติได้ 7 วัน พระราชมารดาก็เสด็จสวรรคต พระเจ้าสุทโธทนะ จึงมอบพระสิทธัตพระราชกุมารให้อยู่ในการดูแลเลี้ยงดูของพระนางปชาบดีโคตมี ซึ่งเป็นน้องสาวของพระนางสิริมหามายา
พระเจ้าสุทโธทนะ มีพระประสงค์จะให้พระโอรสทรงครอบครองบ้านเมืองต่อจากพระองค์เพียงประการเดียว จึงทรงปรนเปรอความสุขทุกอย่าง และเมื่อทรงเจริญวัยพอที่จะเข้ารับการศึกษา จึงส่งเข้ารับการศึกษาในสำนักครูวิศวามิตร เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะพระชนมายุได้ 16 พรรษา ได้อภิเษกสมรสกับพระนางยโสธราหรือพิมพา พระราชบุตรีของพระเจ้าสุปปพุทธะกับพระนางอมิตาแห่งโกลิยวงศ์ ต่อมาเมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 29 พรรษา ทรงมีพระโอรสองค์หนึ่งพระนามว่า “ราหุล”
นับแต่อยู่ในวัยเยาว์เจ้าชายสิทธัตถะมิได้ทรงหมกมุ่นมัวเมาในความสุขที่ได้รับ และทรงคิดว่า ชีวิตการครองเรือนของพระองค์ถึงแม้จะได้เป็นกษัตริย์ต่อไปภายหน้าก็ยังอยู่ในที่คับแคบ ไม่มีทางจะแก้ไขให้ตนและคนอื่นได้พ้นทุกข์ มีเพียงการออกบวชประพฤติธรรม ยิ่งเมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณตามลำดับ ก็ทรงครุ่นคิดถึงแต่การเสด็จออกผนวชเพื่อประพฤติธรรม
ในที่สุด พระองค์ก็ตัดสินพระทัยเสด็จออกผนวช ในตอนดึกของคืนวันหนึ่ง โดยเสด็จพร้อมกับนายฉันนะ ซึ่งเป็นมหาดเล็กคนสนิท และทรงม้าชื่อกัณฐกะ ทรงตัดพระเมาลีถือเพศบรรพชิตที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมานที ขณะมีพระชนมายุได้ 29 พรรษาเมื่อผนวชแล้ว พระองค์ได้เสด็จไปยังแคว้นมคธ ผ่านกรุงราชคฤห์ ได้พบกับพระเจ้าพิมพิสาร ได้สนทนาปราศรัยกันแล้ว พระเจ้าพิมพิสารทรงชักชวนให้อยู่และเชิญให้ครองเมืองด้วยกัน แต่พระองค์ไม่ทรงรับ โดยให้เหตุผลว่า ต้องการแสวงหาธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นทุกข์ พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงอนุโมทนาและตรัสขอปฏิญญาว่าถ้าตรัสรู้แล้วขอให้เสด็จกลับมาโปรดด้วย
พระสิทธัตถะทรงศึกษาอยู่ในสำนักของอาฬารดาบส กาลามโคตร และอุทกดาบส รามบุตร จนสำเร็จฌานสมาบัติขั้นที่ 8ซื่อถือว่าจบหลักสูตรของอาจารย์ทั้งสอง แต่ก็มิใช่แนวทางพ้นทุกข์ พระองค์จงทรงลาอาจารย์ทั้งสอง เสด็จไปแต่ลำพังพระองค์เองจนถึงอุรุเวลาเสนานิคม ปัจจุบันอยู่ในตำบลพุทธคยา ประเทศอินเดีย ทรงเห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร จึงประทับอยู่ ณ ที่นั่น และในขณะเดียวกัน ได้มีปัญจวัคคีย์คือพราหมณ์ทั้ง 5 ได้แก่ โกณทัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ได้ตามเสด็จมาคอยปรนนิบัติอยู่ด้วย และพระองค์ทรงทรมานพระกายด้วยวิธีต่าง ๆ ตามวิธีที่ผู้แสวงหาทางพ้นทุกข์ในสมัยนั้นกระทำกันอยู่ หรือที่เรียกว่า ทุกรกิริยา ซึ่งมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 กัดฟัน ใช้ลิ้นกดเพดาน ขั้นที่ 2 กลั้นลมหายใจ และขั้นที่ 3 อดอาหาร เมื่อพระองค์ทรงทำถึงขั้นนี้แล้วก็ยังไม่ได้ค้นพบทางพ้นทุกข์ จึงทรงคิดว่าไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้อง จึงทรงเริ่มเสวยอาหารตามเดิม จนพระกายแข็งแรงขึ้นโดยลำดับ จึงเป็นสาเหตุให้ปัญจวัคคีย์เสื่อมศรัทธา พากันหนีไปอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี
เทวทูต ๔
เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จอยู่ครองฆราวาสมบัติตราบเท่าพระชนมายุ 29 พรรษา และทรงได้รับการบำรุงบำเรอในความสุขตลอดมา วันหนึ่ง พระองค์ทรงมีพระประสงค์จะเสด็จประพาสพระราชอุทยาน จึงรับสั่งให้นายสารถีเตรียมรถพระที่นั่ง นายสารถีได้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสสั่งแล้ว จึงกราบทูลให้ทรงทราบ เจ้าชายสิทธัตถะจึงทรงรถพระที่นั่งเสด็จออกจากพระนคร มุ่งไปยังพระราชอุทยาน ในระหว่างทางเสด็จนั้น ได้ทอดพระเนตรคนชรา (คนแก่) คนหนึ่ง จึงตรัสถามนายสารถีว่า “คนที่ผมหงอก สีข้างคดค้อมหลังง้อมเงื้อมไปในเบื้องหน้า ถือไม้เท้าเดินมานั้น เป็นใคร” นายสารถีกราบทูลว่า “คนนั้นคือคนชรา พระเจ้าข้า” พระองค์จึงตรัสถามต่อไปอีกว่า “คนชราหมายความว่าอย่างไร” นายสารถีกราบทูลว่า “คนชราก็คือคนแก่ คนเฒ่า คนทุกคนจะต้องแก่เฒ่าด้วยกันทั้งนั้น ไม่มีใครจะพ้นไปได้”
เจ้าชายสิทธัตถะทรงสดับคำชี้แจงดังนั้น ก็ทรงเกิดสังเวชในพระทัย จึงรับสั่งให้นายสารถีขับรถกลับเข้าพระนคร ต่อมาพระองค์ได้เสด็จประพาสพระราชอุทยานอีกเป็นครั้งที่ 2 ได้ทอดพระเนตรเห็นคนเจ็บไข้ในระหว่างทางเสด็จและได้ตรัสถามความหมายเหมือนในครั้งแรก เสด็จประพาสพระราชอุทยานครั้งที่ 3 ได้ทอดพระเนตรเห็นคนตายอยู่ระหว่างทางก็ตรัสถามดังนัยหนหลัง และทรงเกิดสังเวชพระทัยยิ่งขึ้น และในการเสด็จประพาสพระราชอุทยานครั้งที่ 4 ได้ทอดพระเนตรเห็นบรรพชิตรูปหนึ่ง มีอากัปกิริยาสงบเสงี่ยมเรียบร้อย ทรงเกิดศรัทธา ทรงเห็นว่าเพศบรรพชิตนี้เป็นอุดมเพศ จึงมีพระทัยยินดีในการบรรพชาเป็นอย่างยิ่งวิเคราะห์
วิเคราะห์
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ทอดพระเนตรเห็นเทวทูต 4 คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ เมื่อทอดพระเนตรเห็นเทวทูต 3 ข้างต้นนั้น ก็ทรงรู้สึกสลดหดหู่ในพระทัยยิ่งนัก ด้วยการพิจารณาเห็นว่าคนเราทุกคนเมื่อเกิดมาแล้ว ล้วนต้องแก่ เจ็บ และตายกันทั้งนั้นไม่มีใครรอดพ้นไปได้แม้แต่พระองค์เองก็ต้องมีสภาพเป็นเช่นนั้น แต่ถึงอย่างนั้นก็อาจจะมีหนทางที่สามารถทำให้รอดพ้นไปได้แม้แต่พระองค์เองก็ต้องมีสภาพเป็นเช่นนั้น แต่ถึงอย่างนั้นก็อาจจะมีหนทางที่สามารถทำให้รอดพ้นไปได้บ้าง เพราะเมื่อมีมืดก็ยังมีสว่างและเมื่อพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นสมณะเทวทูตที่ 4 ยังความเลื่อมใสพอพระทัยให้เกิดขึ้นแก่พระองค์เป็นอย่างมากเพราะทรงเห็นการสละทิ้งซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างออกบวชว่า อาจจะเป็นหนทางที่พระองค์ทรงครุ่นคิดอยู่ก็ได้ เพราะการออกบวชย่อมห่างจากอารมณ์อันล่อให้หลงและมัวเมาเมื่อห่างย่อมมีช่องว่างและโอกาสในการค้นหาอุบายซึ่งจะเป็นหนทางให้หลุดพ้นได้มาก จึงทรงน้อมพระทัยไปในการบรรพชา