เกียรติบัตรออนไลน์กิจกรรมตอบคำถามออนไลน์ เรื่อง บริจาคโลหิต

เกียรติบัตรออนไลน์กิจกรรมตอบคำถามออนไลน์ เรื่อง บริจาคโลหิต

เกียรติบัตรออนไลน์กิจกรรมตอบคำถามออนไลน์ เรื่อง บริจาคโลหิต

วันนี้ครูตอเต่า ขอนำเกียรติบัตรออนไลน์
เกียรติบัตรออนไลน์กิจกรรมตอบคำถามออนไลน์ เรื่อง บริจาคโลหิต

เกียรติบัตรออนไลน์กิจกรรมตอบคำถามออนไลน์ เรื่อง บริจาคโลหิต

เรื่องเกียรติบัตรออนไลน์กิจกรรมตอบคำถามออนไลน์ เรื่อง บริจาคโลหิต

เกียรติบัตรออนไลน์กิจกรรมตอบคำถามออนไลน์ เรื่อง บริจาคโลหิต
เข้าร่วมกลุ่มข่าว ครูตอเต่า เพื่อรับข่าวสาร

กิจกรรมตอบคำถามออนไลน์ เรื่อง บริจาคโลหิต

ศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบ Co – Learning Space
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เชิญชวน บุคลากร กศน. นักศึกษา กศน. และประชาชนทั่วไป
เข้าร่วม กิจกรรมตอบคำถามออนไลน์ เรื่อง บริจาคโลหิต

แบบทดสอบนี้มีทั้งหมด 3 ส่วนดังนี้
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ส่วนที่ 2 ข้อสอบ มีทั้งหมด 10 ข้อ
ส่วนที่ 3 แบบประเมินความพึงพอใจ

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะต้องทำให้ผ่าน 70% ขึ้นไป จะได้รับเกียรติบัตร
สำหรับเกียรติบัตรที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับจะถูกส่งทางอีเมลที่ได้ให้ข้อมูลไว้

บริจาคโลหิต

     โลหิต เป็นของเหลวสีแดงที่ไหลเวียนอยู่ภายในหลอดโลหิตในร่างกาย โดยกำลังสูบฉีดของหัวใจ อวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดโลหิต คือ ไขกระดูก โลหิตแบ่งได้ 2 ส่วน คือ เม็ดโลหิต ซึ่งมี 3 ชนิด คือเม็ดโลหิตแดง เม็ดโลหิตขาว เกล็ดโลหิต ส่วนที่ 2 คือ พลาสมา (Plasma) คือส่วนที่เป็นของเหลวของโลหิตที่ทำให้เม็ดโลหิตทั้งหลายลอยตัว มีลักษณะเป็นน้ำสีเหลือง ปัจจุบันยังไม่สามารถหาสารประกอบใด้ที่มาใช้ทดแทนโลหิตได้ดี ฉะนั้นเมื่อยามที่ร่างกายเสียโลหิตจากอุบัติเหตุ ผ่าตัด หรือโรคที่จำเป็นต้องรักษาด้วยโลหิต จึงจำเป็นต้องรับบริจาคโลหิตจากบุคคลหนึ่งเพื่อนำไปให้อีกบุคคลหนึ่ง เพื่อช่วยเหลือชีวิตให้ทันท่วงที ความจำเป็นต้องใช้โลหิต โลหิต 77% ที่ได้รับบริจาคถูกนำไปใช้เพื่อทดแทนโลหิตที่สูญเสียไปในภาวะต่างๆ อาทิ อุบัติเหตุ การผ่าตัด โรคกระเพาะอาหาร การคลอดบุตร ฯลฯ อีก 23 %เป็นการนำโลหิตไปใช้เฉพาะโรคเลือด อาทิ โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย เกล็ดโลหิตต่ำ ฮีโมฟีเลีย เป็นต้นความต้องการโลหิต ปัจจุบันศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ต้องจัดหาโลหิตให้ได้วันละ 1,800-2,000 ยูนิต เดือนหนึ่งไม่ต่ำกว่า 58,000 ยูนิต จึงจะเพียงพอจ่ายให้กับผู้ป่วยตามโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ โดยแบ่งเป็น หมู่โลหิตที่จำเป็นต้องจัดหาโลหิตเฉลี่ยในแต่ละวัน ดังนี้

หมู่ A วันละ 500 ยูนิต

หมู่ O วันละ 800 ยูนิต

หมู่ AB วันละ 150 ยูนิต

หมู่ B วันละ 550 ยูนิต


    การบริจาคโลหิต การบริจาคโลหิต คือการสละโลหิตส่วนเกินที่ร่างกายยังไม่จำเป็นต้องใช้ เพื่อให้กับผู้ป่วย ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาค เพราะร่างกายแต่ละคนจะมีปริมาณโลหิตประมาณ 17-18 แก้วน้ำร่างกายใช้เพียง 15-16 แก้วเท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นสามารถบริจาคให้ผู้อื่นได้ โลหิตสามารถบริจาคได้ทุก 3 เดือน เพราะเมื่อบริจาคโลหิตออกไปไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดโลหิตขึ้นมาทดแทนให้มีปริมาณโลหิตในร่างกายเท่าเดิม ถ้าไม่ได้บริจาค ร่างกายจะขับเม็ดโลหิตที่สลายตัว เพราะหมดอายุออกมาทางปัสสาวะ อุจจาระ กระบวนการบริจาคโลหิตตั้งแต่เริ่มลงทะเบียน จนกระทั่งบริจาคโลหิตเสร็จสิ้นใช้เวลาประมาณ 20 นาที ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเลือกเจาะโลหิตที่เส้นโลหิตดำ บริเวณแขน แล้วเก็บโลหิตบรรจุในถุงพลาสติก (BLOOD BAG) ตั้งแต่ 350-450 มิลลิลิตร (ซี.ซี.) ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้บริจาค

เข้าร่วมกลุ่มข่าว ครูตอเต่า เพื่อรับข่าวสาร

คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต

1. อายุระหว่าง 17 ปี ถึง 70 ปีบริบูรณ์ ผู้ที่มีอายุ 17 ปี ไม่ถึง 18 ปี ต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง

2. ผู้บริจาคโลหิตเป็นครั้งแรก ถ้าอายุเกิน 55 ปี – 60 ปี และให้อยู่ในดุลพินิจของแพทย์ และ พยาบาล

3. ผู้บริจาคโลหิตอายุมากกว่า 60 ปี – 70 ปี แบ่งเกณฑ์การคัดเลือกตามาอายุ 2 ช่วง ดังนี้

3.1 การคัดเลือกผู้บริจาคโลหิตอายมากกว่า 60 จนถึง 65 ปี (ไม่รับบริจาคในหน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่)

1) เป็นผู้บริจาคโลหิตประจำมาโดยตลอดจนกระทั่งอายุ 60 ปี

2) บริจาคโลหิตได้ไม่เกินปีละ 3 ครั้ง คือทุก 4 เดือน

3) ตรวจ Complete Blood Count (CBC),Serum Ferritin (SF) ปีละ 1 ครั้ง เพื่อประกอบการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพทั่วไป และสำหรับแพทย์ใช้ผลการตรวจ SF ในการติดตามและปรับการให้ธาตุเหล็กทดแทน

3.2 ผู้บริจาคโลหิตอายุมากกว่า 65 ปี จนถึง 70 ปี (ไม่รับบริจาคในหน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่)

1) เป็นผู้บริจาคโลหิตต่อเนื่องสม่ำเสมอในช่วงอายุ มากกว่า 60 ปี จนถึง 65 ปี

2) บริจาคโลหิตได้ไม่เกินปีละ 2 ครั้ง คือ ทุก 6 เดือน

3) ต้องได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพโดยแพทย์ หรือพยาบาลของธนาคารเลือดหรือหน่วยงานรับบริจาคโลหิตซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจคัดกรองสุขภาพผู้บริจาคโลหิต

4) ตรวจ CBC และ SF ปีละ 1 ครั้ง ทั้งสองช่วงอายุให้ดูผล hemoglobin จาก CBC ที่เจาะในวันเดียวกันกับที่จะบริจาคโลหิต หรือจากการเจาะปลายนิ้ว ถ้าอยู่ในเกณฑ์กำหนด อนุญาตให้บริจาคโลหิตได้ สำหรับผลการตรวจอื่นๆที่ไม่ได้ผลทันที ให้เก็บไว้ประกอบการให้คำปรึกษาหลังจากการบริจาคโลหิตครั้งนี้ ในโอกาสที่มาบริจาคโลหิตครั้งต่อไป หรือแจ้งผลโดยวิธีอื่นๆตามความเหมาะสมผู้บริจาคโลหิตในช่วงอายุ 60 ปี ถึง 70 ปี ที่บริจาคโลหิตไม่สม่ำเสมอ มีการหยุดบริจาคทิ้งช่วงเกิน 1 ปี ให้เจาะเลือดตรวจตามที่ระบุไว้และนัดให้ผู้บริจาคมาฟังผลเพื่อพิจารณาการรับบริจาคโลหิตภายใน 1-2 สัปดาห์ และต้องเจาะเลือดจากปลายนิ้วตรวจฮีโมโกลบินซ้ำตามขั้นตอนการรับบริจาคโลหิต ในวันที่บริจาคโลหิตผู้ที่มีอายุเกิน 55 ปีจนถึง 60 ปี ที่ต้องการบริจาคโลหิตเป็นครั้งแรก ให้อยู่ในดุลพินิจของแพทย์/พยาบาลไม่ควรรับบริจาคโลหิตจากผู้ที่อายุเกิน 60 ปี ในหน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่

5. น้ำหนักตั้งแต่ 45 กิโลกรัม ขึ้นไป

6. สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงพร้อมที่จะบริจาคโลหิต

7. นอนหลับพักผ่อนเพียงพอในเวลาปกติของตนเอง ในคืนก่อนวันที่มาบริจาคโลหิต

8. ไม่มีประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจ โรคตับ โรคปอด โรคเลือด โรคมะเร็ง หรือมีภาวะโลหิตออกง่ายและหยุดยาก

9. ไม่มีอาการท้องเสีย ท้องร่วง ใน 7 วันที่ผ่านมา

10. สตรีไม่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร และไม่มีการคลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือน ที่ผ่านมา

11.น้ำหนักต้องไม่ลดผิดปกติในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา โดยไม่ทราบสาเหตุ

12. หากรับประทานยาแอสไพริน, ยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาแก้ปวดอื่นๆ ต้องหยุดยามาแล้ว 3 วัน ถ้าเป็นยาแก้อักเสบหรือยาอื่นๆ ต้องหยุดยามาแล้ว 7 วัน

13. ไม่เป็นโรคหอบหืด, ผิวหนังเรื้อรัง, วัณโรค หรือภูมิแพ้อื่นๆ

14.ไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, หัวใจ, ตับ, ไต, มะเร็ง, ไทรอยด์,โลหิตออกง่าย-หยุดยาก หรือโรคประจำตัวอื่นๆ

15. หากถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูนหรือรักษารากฟัน ต้องทิ้งระยะอย่างน้อย 3 วัน กรณีผ่าฟันคุด ให้เว้นอย่างน้อย 7 วัน จนกว่าแผลจะหายสนิทไม่มีอาการอักเสบ

16. หากเคยได้รับการผ่าตัดใหญ่ต้องเกิน 6 เดือน, ผ่าตัดเล็ก ต้องเกิน 7 วัน

17.ท่านหรือคู่ครองของท่านต้องไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์

18. ต้องไม่มีประวัติยาเสพติด หรือเพิ่งพ้นโทษ ต้องเกิน 3 ปี และมีสุขภาพดี

19. หากเจาะหู, สัก, ลบรอยสักหรือฝังเข็มในการรักษา โดยใช้เครื่อมือร่วมกัน หรือในสถานที่ที่มีคุณภาพความสะอาดต่ำ อาจติดเชื้อโรคทางกระแสโลหิต จึงควรงดบริจาคอย่างน้อย 1 ปี

แต่หากกระทำด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่สะอาดปราศจากเชื้อ โดยผู้ชำนาญ และเป็นวัสดุที่ใช้ครั้งเดียวเฉพาะตัว เว้นระยะเวลาให้แผลอักเสบหายสนิทอย่างน้อย 7 วัน

20. หากมีประวัติเจ็บป่วยและได้รับโลหิตของผู้อื่น ต้องเกิน 1 ปี

21. หากมีประวัติเป็นมาลาเรีย ถ้าเคยเป็นต้องหายมาแล้วเกิน 3 ปี หากเคยเข้าไปในพื้นที่ ที่มีเชื้อมาเลเรียชุกชุม ต้องทิ้งระยะอย่างน้อยเกิน 1 ปี จึงบริจาคโลหิตได้

22. หากเคยเจ็บป่วยต้องรับโลหิตของผู้อื่นที่ประเทศอังกฤษในระหว่างปีพ.ศ.2523-2539 งดรับบริจาคโลหิตถาวร

23. หากเคยพำนักอยู่ในประเทศอังกฤษรวมระยะเวลา 3 เดือน ในระหว่างปี พ.ศ.2523-2539 หรือ เคยพำนักในยุโรปรวมระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2523-ปัจจุบัน งดรับบริจาคโลหิตถาวร

24. หากเคยได้รับวัคซีน เพื่อป้องกันโรค หรือเคยรับเซรุ่ม ระยะเวลาที่งดรับบริจาคโลหิตขึ้นกับชนิดขอบวัคซีน หรือ เซรุ่ม

25. สตรีอยู่ระหว่างมีรอบเดือน ไม่เป็นข้อห้ามในการบริจาคโลหิต ถ้าขณะนั้นสุขภาพแข็งแรง มีโลหิตประจำเดือนไม่มากกว่าปกติ ไม่มีอาการอ่อนเพลียใดๆ ตรวจความเข้มข้นโลหิตผ่านก็สามารถบริจาคโลหิตได้

26. ก่อนบริจาคโลหิต ควรงดอาหารไขมันสูง เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวข้าวหมู ของทอด ของหวาน แกงกะทิต่างๆ เป็นต้น

เข้าร่วมกลุ่มข่าว ครูตอเต่า เพื่อรับข่าวสาร


ปุ่มทำแบบทดสอบด้านล่าง

ทำแบบทดสอบบริจาคโลหิต

เข้าร่วมกลุ่มข่าว ครูตอเต่า เพื่อรับข่าวสาร

💕ท่านสามารถติดต่อเข้าร่วมกลุ่ม ข่าวสาร เพื่อติดตามผลงานและสื่อต่าง ๆ ได้ที่ >> 

https://www.facebook.com/groups/298149415474

เกี่ยวกับเรา

ครูตอเต่า และ krutortao.com ครูตอเต่าแบ่งปัน สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ แจกฟรี สื่อการสอน แนะนำ สื่อการสอนฟรี สำหรับครู ดาวน์โหลดไฟล์ ใบงาน ใบความรู้ สื่อออนไลน์ แบบฝึกหัด ข้อสอบ ทุกรายวิชา ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ไฟล์เอกสารฟรี ไฟล์หน้าปกฟรี บทความ เอกสารทางการศึกษา ไฟล์เอกสารประเมินวิทยฐานะ อบรมออนไลน์ แบบทดสอบออนไลน์ รายงานการรอบรม เกียรติบัตร เพื่อให้ครูนำไปใช้เป็นในการจัดการเรียนการสอน ให้กับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ติดตามข่าวการศึกษา ข่าวทั่วไป อัพเดททันต่อเหตุการณ์ สอบครูผู้ช่วย แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย รวมทั้งหมดไว้ที่นี่ krutortao.com เว็บไซต์เพื่อการศึกษา และยังสามารถติดตามได้ทางแฟนเพจ ครูตอเต่า อีกช่องทาง เพื่อพัฒนาการศึกษาไทย โดยไม่แสวงหาผลกำไรแต่อย่างใด

Krutortao ครูตอเต่า เป็นเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ และแบ่งปัน ผลงานนครู สื่อการสอน หลักสูตรการอบรมออนไลน์ รับเกียรติบัตร แบ่งปันความรู้ เพื่อนำไปพัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพครู โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และไม่มีการเรียกเก็บเงินใดๆ 

Share This Article
Leave a comment

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Exit mobile version