รวมข้อตกลงในการพัฒนางาน ว.PA ล่าสุด

By admin 2 Min Read

รวมข้อตกลงในการพัฒนางาน ว.PA ล่าสุด โดยเพจคุณครูภฌลดา ปรางควิรยา โรงเรียนวัดหนองโพรง สพป.ปราจีนบุรี เขต 1

ขอบคุณ คุณครูภฌลดา ปรางควิรยา โรงเรียนวัดหนองโพรง สพป.ปราจีนบุรี เขต 1 รวมข้อตกลงในการพัฒนางาน ว.PA

ข้อตกลงในการพัฒนางาน” (Performance Agreement : PA) หมายความว่า ข้อตกลงที่ข้าราชการครู ได้เสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา เพื่อแสดงเจตจำนงว่าภายในรอบการประเมินจะพัฒนาผลลัพธ์การเรียน ของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะประจำวิชา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะที่สำคัญตามหลักสูตร ให้สูงขึ้นโดยสะทอนให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของตำแหน่งและวิทยฐาน ที่ดำรงอยู่ และสอดคล้องกับเป้าหมายและบริบทสถานศึกษา นโยบายของส่วนราชการและกระทรวงศึกษาธิการ โดยผู้อำนวยการสถานศึกษาได้เห็นชอบให้เป็นข้อตกลงในการพัฒนางาน ข้อตกลงในการพัฒนางาน ว.PA ล่าสุด

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งครูทุกคน ต้องจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางา ตามแบบที่ ก.ค.ศ. กำหนด ทุกปีงบประมาณเสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยข้อตกลงในการพัฒนางาน ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังต่อไปนี้ 

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง1

                    1) การปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่งครู และมีภาระงานตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

                    2) ผลการปฏิบัติงาน ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียน และด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน โดยต้องแสดงให้เห็นถึงการปรับประยุกต์ ริเริ่มการแก้ปัญหา พัฒนา คิดค้น ปรับเปลี่ยน หรือการสร้างการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ข้อตกลงในการพัฒนางานต้องมีความสอดคล้องกับเป้าหมาย และบริบทสถานศึกษา นโยบายของส่วนราชการและกระทรวงศึกษาธิการ

การจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน ควรกำหนดการดำเนินการในแต่ละกิจกรรมให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลงได้อย่างชัดเจนและเป็นธรรม ทั้งนี้ ในระหว่างการดำเนินการตามข้อตกลงในการพัฒนางาน กรณีที่ข้าราชการครูย้าย รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ได้รับมอบหมายให้ทำการสอนต่างวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ทำข้อตกลงไว้เดิม ให้ดำเนินการดังนี้

          1. กรณีที่ข้าราชการครูย้ายสถานศึกษาระหว่างปีงบประมาณให้จัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน กับผู้อำนวยการสถานศึกษาคนใหม่ในสถานศึกษาที่ย้ายไปดำรงตำแหน่ง

          2. กรณีที่ข้าราชการครูได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ให ข้อตกลงในการพัฒนางานในตำแหน่งครูกับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

          3. กรณีที่ข้าราชการครูได้รับมอบหมายให้ทำการสอนต่างวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ทำข้อตก ให้ข้าราชการครูจัดทำรายละเอียดข้อตกลงในการพัฒนางานในวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามที่ได้รับมอบหมายใหม่

แปลความว่า

1) การประเมินเพื่อพิจารณาเลื่อนเงินเดือน

2) การประเมินเพื่อคงวิทยฐานะ ตามมาตรา 55 

3) การประเมินเพื่อขอมีและเลื่อนวิทยฐานะตามเกณฑ์ ว.17 หรือ ว.21 ก็จะปรับเข้าสู่หลักเกณฑ์ใหม่ ภายใน 1 ตุลาคม 2564 แต่สำหรับผู้ที่เกิดสิทธิ์วิทยฐานะตามเกณฑ์ ว.17 หรือ ว.21 มาก่อนประกาศใช้หลักเกณฑ์ใหม่นี้ มีเวลา 1 ปี สามารถยื่นคำขอตามหลักเกณฑ์เดิมได้ ภายใน 30 กันยายน 2565 หากมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์เดิม แต่หากอายุการครองวิทยฐานะเดิมครบไม่ทันภายใน 30 กันยายน 2565 จำเป็นต้องเข้าสู่หลักเกณฑ์ใหม่ต่อเนื่องไป ตามคำกล่าวของเลขาธิการ ก.ค.ศ. ว่า “สำหรับสายผู้สอน ที่ใช้เกณฑ์การประเมินวิทยฐานะ (ว 21) การนับระยะเวลาจะไม่เสียไป จะสามารถนับต่อได้และจะมีผลดี คือเมื่อครบเวลา 4 ปี จะมีสิทธิในการยื่นวิทยฐานะ” (ที่มา:เลขา.ก.ค.ศ.) ดังตัวอย่างแผนภาพนี้

เมื่อ ว.PA จะประกาศใช้ พ.ค.2564 จะทำให้ผู้ที่เกิดสิทธิ์ ว.17, ว.21 มาก่อน เสียสิทธิ์หรือไม่ อย่างไร

ตามมติที่ประชุม ก.ค.ศ. เมื่อ 25 มกราคม 2564 เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะตามข้อตกลงพัฒนางาน (PA) ใหม่ ที่เลขาธิการ ก.ค.ศ. รองศาสตราจารย์ ดร.ประวิต  เอราวรรณ์ ได้แจ้งว่า “จะประกาศใช้ ว.PA ในเดือนพฤษภาคม 2564 และมีเวลากำหนดยื่น PA ต่อผู้อำนวยการโรงเรียน ในวันที่ 1 ตุลาคม 2564” และในเวลาต่อมามีแผ่นภาพเผยแพร่ โดย เพจ สำนักงาน ก.ค.ศ. ดังนี้

คำถามสำคัญ คือ เมื่อ ว.PA จะประกาศใช้ พ.ค.2564 จะทำให้ผู้ที่เกิดสิทธิ์ ว.17, ว.21 มาก่อน แต่ยังไม่ครบกำหนดยื่นคำขอ จะต้องเริ่มต้นนับ 1 ใหม่ กับ ว.PA-64 และนับไปอีก 4 ปีหรือไม่

ผู้เขียนพยายามประมวลข้อมูลความรู้ทั้งในแง่ข้อกฎหมาย และหลักวิชาการ เพื่ออธิบายความจากฐานข้อมูลของก.ค.ศ.ที่มีอยู่ เพื่อเพิ่มพรมแดนความรู้ความเข้าใจให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ความชัดเจนใดๆ จำเป็นต้องรอคู่มือคำอธิบายประกอบหลักเกณฑ์ฯ ข้างต้นจากก.ค.ศ.ต่อไป

ระบบการประเมินวิทยฐานะดิจิทัล Digital Performance Appraisal เรียกโดยย่อว่า DPA (ระบบดีพีเอ)หมายความว่า ระบบการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาแบบออนไลน์โดยใช้เทคโนโลยีดิจิตอลในการส่งผ่าน จัดการและประมวลผลข้อมูล การประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลง ในการพัฒนางาน รวมทั้งหลักฐานประกอบการพิจารณาเพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ รวมข้อตกลงในการพัฒนางาน ว.PA

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

  1. หนึ่งการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่งครู และมีภาระงานตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
  2. ผลการปฏิบัติงานด้านการจัดการเรียนรู้ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

ส่วนที่ 2 ข้อตกลง ในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนา ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน โดยครูแสดงให้เห็นถึงการปรับประยุกต์ แก้ไขปัญหาริเริ่มพัฒนาคิดค้น ปรับเปลี่ยนหรือสร้างการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ข้อตกลงในการพัฒนางานต้องมีความสอดคล้องกับเป้าหมายและบริบทสถานศึกษา นโยบายของส่วนราชการและกระทรวงศึกษาธิการ

  1. การจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน
    ให้ข้าราชการครูจะทำข้อตกลงในการพัฒนางาน ตามแบบที่ ก.ค.ศ. กำหนด ทุกปีงบประมาณ เสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
    กรณีที่ข้าราชการครูย้ายระหว่างปีงบประมาณให้จัดทำข้อตกลง ในการพัฒนางานกับผู้อำนวยการสถานศึกษาคน

แบบฟอร์มข้อตกลงในการพัฒนางาน” (Performance Agreement : PA) สามารถใช้ได้ทุกสังกัด ไฟล์ word เลือกดาวน์โหลดได้เลยด้านล่างนี้

ขอบคุณที่มา โดย www.krupachalada.com

อ่านข่าวอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://krutortao.com/

Share This Article
Exit mobile version