รมช.ศธ. คุณหญิงกัลยา เผยไทยพร้อมสนับสนุนข้อเสนอด้านการดูแลและพัฒนาการศึกษาระดับปฐมวัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
รมช.ศธ. “คุณหญิงกัลยา” เผยไทยพร้อมสนับสนุนข้อเสนอด้านการดูแลและพัฒนาการศึกษาระดับปฐมวัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในระหว่างการประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน ณ ประเทศอินโดนีเซีย
ข่าวจาก https://moe360.blog/
ครูตอเต่ามีข่าวในด้านการศึกษามานำเสนอ เมื่อวันพุธที่ 26 กรกฎาคม 2566 คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายอรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และผู้แทนประเทศไทย ได้เข้าร่วมการประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรีด้านการดูแลและจัดการศึกษาเด็กปฐมวัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Ministerial Roundtable at the Southeast Asia Policy Dialogue on Early Childhood Care and Education) ภายใต้หัวข้อ “การปฏิรูปการดูแลและการจัดการศึกษาเด็กปฐมวัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” (Transforming Early Childhood Care and Education (ECCE) in Southeast Asia)
ซึ่งมีผู้แทนระดับรัฐมนตรี ผู้บริหารระดับสูง และระดับนโยบายจากประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และภาคีเครือข่ายอื่นๆ เช่น ศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยการดูแลและการจัดการศึกษาเด็กปฐมวัยและบทบาทสถาบันครอบครัวของซีมีโอ – ซีเซ็พ (SEAMEO Regional Centre for Early Childhood Care and Education and Parenting: CECCEP) องค์การยูเนสโก องค์การยูนิเซฟ เข้าร่วมการประชุมด้วย
รมช.ศธ. คุณหญิงกัลยา เผยไทยพร้อมสนับสนุนข้อเสนอด้านการดูแลและพัฒนาการศึกษาระดับปฐมวัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในการประชุมครั้งนี้ที่ประชุมได้แสดงความมุ่งมั่นร่วมกันในการดูแลและการจัดการศึกษาเด็กปฐมวัยในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะนำมาสู่การรับรองปฏิญญาว่าด้วยการดูแลและการจัดการศึกษาเด็กปฐมวัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration on Early Childhood Care and Education in Southeast Asia) ที่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนประถมศึกษา ทั้งในระบบและนอกระบบ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กที่ด้อยโอกาสและเปราะบาง สนับสนุนให้มีการจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และรับรองสิทธิของเด็กให้ได้รับการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาอย่างน้อย 1 ปี ให้ความสำคัญกับคุณภาพการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กสามารถปรับตัวรับกับวิกฤตและการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต ผ่านความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษา และหน่วยงานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
โอกาสนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศไทย ได้แสดงถึงวิสัยทัศน์ด้านการดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิด เพื่อให้ได้รับการพัฒนาที่เหมาะสมสามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ โดยได้ยกตัวอย่างโครงการ “บ้านวิทยาศาสตร์น้อย” ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้พระราชทานพระราชดำริให้ริเริ่มโครงการนำร่องในประเทศ โดยนำโครงการนี้มาจากประเทศเยอรมันเมื่อปี พ.ศ.2552 เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีด้านการเรียนรู้ทักษะและกระบวนการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับเด็กในระดับปฐมวัย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก 8 หน่วยงานพันธมิตร ในระยะเริ่มแรกมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ 221 แห่ง ปัจจุบันมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการกว่า 29,000 แห่ง
พร้อมกันนี้ได้นำเสนอแนวคิดในเรื่องโค้ดดิ้ง (Coding) ที่เป็นกระบวนการเรียนรู้โดยไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์สำหรับเด็ก เป็นการสอนให้เด็กมีเหตุมีผล พึ่งตัวเองได้ แก้ปัญหาชีวิต ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Active Learning
นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงความสำคัญของปฏิญญาว่าด้วยการดูแลและการจัดการศึกษาเด็กปฐมวัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่แสดงถึงวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่ประเทศสมาชิกสามารถใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการร่วมกัน เป็นความท้าทายและการลงทุนที่คุ้มค่า ได้เรียนรู้ เปลี่ยนแปลง และนำไปสู่การพัฒนาร่วมกันในภูมิภาค เพื่อพัฒนาเด็กทุกคนให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและมีอนาคตที่ดีต่อไป
การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นโดยกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม วิจัยและเทคโนโลยี สาธารณรัฐอินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียนปี พ.ศ.2566 ร่วมกับศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยการดูแลและการจัดการศึกษาเด็กปฐมวัยและบทบาทสถาบันครอบครัวของซีมีโอ – ซีเซ็พ (SEAMEO Regional Centre for Early Childhood Care and Education and Parenting: CECCEP) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมหารือและเจรจาด้านนโยบายเกี่ยวกับการดูแลเด็กและการจัดการศึกษาเด็กปฐมวัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Policy Dialogue on Early Childhood Care and Education) ระหว่างวันที่ 25- 26 กรกฎาคม 2566 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ภายใต้หัวข้อ “การปฏิรูปการดูแลและการจัดการศึกษาเด็กปฐมวัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” (Transforming Early Childhood Care and Education (ECCE) in Southeast Asia) วัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพิ่มความตระหนักรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของคุณภาพการเรียนด้านการศึกษาปฐมวัยของเด็ก 2) หารือด้านนโยบายและการดำเนินการที่จำเป็นเพื่อนำมาซึ่งการปรับเปลี่ยนภาพรวมของการเรียนการสอนด้านการศึกษาของเด็กปฐมวัยในภูมิภาค 3) เพิ่มความมุ่งมั่นร่วมกันในการสนับสนุนการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพแบบองค์รวม ครอบคลุม สร้างสรรค์ และยืดหยุ่น และ 4) เป็นเวทีสำหรับแบ่งปันประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินการจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กปฐมวัยในภูมิภาค โดยที่ประชุมได้มีการรับรองปฏิญญาว่าด้วยการดูแลและการจัดการศึกษาเด็กปฐมวัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในช่วงเดือนกันยายน 2566
สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป. / สรุป
ภาพเพิ่มเติม
https://photos.app.goo.gl/6N8aFSaB4h65Wpw38
สนับสนุนเพจโดยการซื้อสินค้า Shopee ลุ้นเข้า VIP ฟรี
เว็บไซต์ของเราเป็นผู้ช่วยกระจายข่าว
มิใช่ผู้จัดอบรมแต่อย่างใด
ติดตามเพจ FACEBOOK : ครูตอเต่า
ท่านสามารถติดต่อเข้าร่วมกลุ่ม ข่าวสาร เพื่อติดตามผลงานและสื่อต่าง ๆ ได้ที่ >>
https://www.facebook.com/groups/298149415474258
ไลน์อบรมครู โปรดแตะลิงก์ด้านล่างเพื่อเข้าร่วมโอเพนแชทนี้
เกี่ยวกับเรา
ครูตอเต่า และ krutortao.com ครูตอเต่าแบ่งปัน สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ แจกฟรี สื่อการสอน แนะนำ สื่อการสอนฟรี สำหรับครู ดาวน์โหลดไฟล์ ใบงาน ใบความรู้ สื่อออนไลน์ แบบฝึกหัด ข้อสอบ ทุกรายวิชา ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ไฟล์เอกสารฟรี ไฟล์หน้าปกฟรี บทความ เอกสารทางการศึกษา ไฟล์เอกสารประเมินวิทยฐานะ รายงานการรอบรมนับชั่วโมง เกียรติบัตร เพื่อให้ครูนำไปใช้เป็นในการจัดการเรียนการสอน ให้กับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ติดตามข่าวการศึกษา ข่าวทั่วไป อัพเดททันต่อเหตุการณ์ สอบครูผู้ช่วย แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย รวมทั้งหมดไว้ที่นี่ krutortao.com เว็บไซต์เพื่อการศึกษา และยังสามารถติดตามได้ทางแฟนเพจ ครูตอเต่า อีกช่องทาง เพื่อพัฒนาการศึกษาไทย โดยไม่แสวงหาผลกำไรแต่อย่างใด
Krutortao ครูตอเต่า เป็นเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ และแบ่งปัน ผลงานนครู สื่อการสอน หลักสูตรการ รับเกียรติบัตรออนไลน์ แบ่งปันความรู้ เพื่อนำไปพัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพครู โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และไม่มีการเรียกเก็บเงินใดๆ