มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัท จาก ‘Facebook’ เป็น ‘Meta’
ก่อนหน้านี้หลาย ๆ คนคงได้ยินเรื่องที่ บริษัท Facebook จะรีแบรนด์ ปรับโฉมใหม่ และมีการเปลี่ยนชื่อ ล่าสุด มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ก็ได้มีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการเรียบร้อย ประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัท จาก ‘Facebook’ เป็น ‘Meta’ เพื่อเป็นการสื่อถึงภาพลักษณ์ของบริษัท และเพื่อรองรับบริการใหม่ ๆ ในอนาคต ที่จะให้ทุกคนจะก้าวเข้าสู่โลกใบใหม่โลกเสมือนจริงและสนุกไปกับมัน จากนี้ไปทางบริษัทจะให้ความสำคัญกับ เมทาเวิร์ส (metaverse) เป็นลำดับแรก โดยเฟซบุ๊กจะไม่ใช่เป็นลำดับแรกอีกต่อไป
สำหรับบทบาทในครั้งนี้คือการเร่งพัฒนาเทคโนโลยีพื้นฐาน แพลตฟอร์มโซเชียลและเครื่องมือสร้างสรรค์เพื่อทำให้ เมทาเวิร์ส มีชีวิต และจะผสานเทคโนโลยีเหล่านี้ผ่านแอปโซเชียลมีเดีย โดยเชื่อว่า เมทาเวิร์ส จะสามารถเปิดประสบการณ์ทางสังคมที่ดีกว่าสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพราะภายใต้บริษัทมีบริการอื่น ๆ มากกว่าเฟซบุ๊ก
อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนชื่อในครั้งนี้ จะเป็นการเปลี่ยนเฉพาะชื่อของบริษัทแม่เท่านั้น แต่ตัวแอปหรือโปรดักซ์ต่าง ๆ ที่เป็นโซเชียลมีเดียในเครือบริษัทจะใช้ชื่อเดิม อย่างเช่น อินสตาแกรม,เฟซบุ๊ก, วอทส์แอพพ์ ฯลฯ ก็ยังคงใช้ชื่อเดิมอยู่
สำหรับคนภายนอก เมทาเวิร์สอาจจะเป็นเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality—VR) ในแบบที่ล้ำสมัยขึ้นไปอีก แต่สำหรับบางคนอาจคิดว่า เมทาเวิร์สคืออนาคตแห่งโลกอินเทอร์เน็ตมันอาจจะเหมือนกับสมาร์ตโฟนในยุคสมัยใหม่เปรียบเทียบกับโทรศัพท์มือถือในยุคทศวรรษ 1980 แทนที่จะอยู่ในคอมพิวเตอร์ ในเมทาเวิร์ส คุณอาจใช้ชุดหูฟังในการเข้าสู่โลกเสมือนจริงเชื่อมต่อกับสิ่งแวดล้อมดิจิทัลทุกอย่างได้ต่างจาก VR ในปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่ถูกใช้ในการเล่นเกม โลกเสมือนจริงของเมทาเวิร์สอาจถูกใช้งานในการทำสิ่งต่าง ๆ ทั้งทำงาน เล่นเกม ชมคอนเสิร์ต ดูภาพยนตร์ หรือแค่การออกไปสังสรรค์กับเพื่อน คนส่วนใหญ่จินตนาการว่า คุณจะมีร่างอวตารสามมิติ ที่เป็นตัวแทนของคุณขณะที่คุณใช้งานเมทาเวิร์ส แต่เพราะมันยังเป็นเพียงแนวคิด จึงยังไม่มีนิยามที่เห็นตรงกันเพียงอย่างเดียวสำหรับเมทาเวิร์ส
สำหรับการเปลี่ยนชื่อบริษัทจาก Facebook เป็น Meta นี้ จะไม่ได้รวมไปถึงแอปและเว็บไซต์โซเชียลอย่าง Facebook นะครับ เพราะ Meta จะเป็นบริษัทแม่ของเหล่าแบรนด์ย่อยอย่าง Facebook, Instagram, WhatsApp และ Oculus อีกทีนึง
METAVERSE คืออะไร?
Meta มีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนา Metaverse ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างแพลตฟอร์มโซเชียลและเทคโนโลยี VR / AR ให้ผู้ใช้สามารถเข้ามาทำกิจกรรมต่าง ๆ กับผู้ใช้งานคนอื่น, เข้ามาเรียนรู้, เข้ามาร่วมมือ และเข้ามาเล่นกันได้ภายในโลกเสมือนของ Metaverse โดยตอนนี้ทาง Meta ก็มีเทคโนโลยีต่าง ๆ ซึ่งพร้อมจะปูทางให้ผู้ใช้งานเข้ามาสู่ Metaverse บ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแว่น VR สุดฮิต Oculus Quest, Smart Glasess หรือเทคโนโลยี AR ที่ใช้เล่นกันในแพลตฟอร์มโซเชียลทั้ง Facebook และ Instagram Meta ยังได้ลงทุนไปกว่า 150 ล้านเหรียญ เพื่อจัดหาเครื่องไม้เครืองมือต่าง ๆ รวมถึงจัดการฝึกฝนเพิ่มความสามารถให้กับเหล่านักพัฒนาด้าน VR / AR ให้ช่วยกันพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อทำให้ Metaverse สมบูรณ์แบบขึ้นเรื่อย ๆ
Metaverse ไม่ใช่จะมีดีแค่เอาไว้ใช้สำหรับความบันเทิงอย่างเดียว แต่ทาง Meta จะเริ่มทดสอบ Quest for Business ซึ่งเป็นโลก VR ที่จะเน้นใช้งานด้านธุรกิจ ให้ผู้ร่วมงานเข้ามาประชุมกันผ่านห้องประชุมเสมือนได้ ซึ่งจะมีอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ใช้งานกันเหมือนห้องประชุมจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไวท์บอร์ด, โปรเจคเตอร์ ฯลฯ
โดยในวีดีโอ Keynote ของ Mark Zuckerberg ได้พูดถึงดังนี้
- วิสัยทัศน์ของเราสำหรับ Metaverse
- Horizon Home อนาคตของการทำงาน แพลตฟอร์มการแสดงตน และอื่นๆ
- Project Aria Update
- VR คือจุดเปลี่ยน เราทำงานร่วมกันและทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จได้
- เปิดตัวเกมที่อยู่บนโลกเสมือนของ Metaverse
- ‘Blade & Sorcery: Nomad’ กำลังจะมาอยู่ใน Oculus Quest
- Spark AR Roundup
- เปิดครอสหลักสูตร Spark AR สำหรับมืออาชีพ
การประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทจาก “เฟซบุ๊ก” (Facebook) เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “เมทา” (Meta) ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการสื่อถึงภาพลักษณ์ของบริษัทและเพื่อรองรับบริการใหม่ๆในอนาคตที่จะให้ทุกคนจะก้าวเข้าสู่โลกใบใหม่โลกเสมือนจริง ทางบริษัทจะให้ความสำคัญกับ เมทาเวิร์ส (Metaverse) เป็นลำดับแรก พร้อมกับได้มีการเปิดตัวเทคโนโลยีและบริการใหม่ๆ เช่น แว่น AR , oculus รุ่น high end และการให้บริการ VR ที่กำลังพัฒนาในอนาคต ซึ่งน่าจะได้ใช้กันในช่วง 5 ปีข้างหน้าด้วย สำหรับ เมทาเวิร์ส (metaverse) คือ เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality-VR) ในแบบที่ล้ำสมัยขึ้นไปอีก บางคนอาจคิดว่า เมทาเวิร์ส คือ อนาคตแห่งโลกอินเตอร์เน็ต อาจจะเหมือนกับสมาร์ทโฟนในยุคสมัยใหม่เปรียบเทียบกับโทรศัพท์มือถือในยุคทศวรรษ 1980 แทนที่จะอยู่ในคอมพิวเตอร์
เราอาจใช้ชุดหูฟังในการเข้าสู่โลกเสมือนจริงเชื่อมต่อกับสิ่งแวดล้อมดิจิทัลทุกอย่างได้ต่างจาก VR ในปัจจุบันซึ่งส่วนใหญ่ถูกใช้ในการเล่นเกม ซึ่งโลกเสมือนจริงของ เมทาเวิร์ส อาจถูกใช้งานในการทำสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การทำงาน เล่นเกม ชมคอนเสิร์ต ดูภาพยนตร์ หรือการออกไปสังสรรค์กับเพื่อนๆได้ด้วย