ครูตอเต่าแบ่งปัน “ปริศนาอักษรไขว้ สำนวนไทย” ฝึกให้เด็กๆ หาสำนวน และความหมาย
สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกครูตอเต่า และ krutortao.com วันนี้มีไฟล์กิจกรรมอักษรไขว้ และสำนวนไทย จากเพจ ใบงานภาษาไทยพาสนุก มาแบ่งปันให้เพื่อนๆ ครูทุกท่าน ท่านใดที่สนใจก็สามารถดาวน์โหลดไปใช้ได้เลยครับ ช่วยเป็นกำลังใจกดไลด์กดแชร์ใจเพจ ครูตอเต่ากันด้วยนะครับ ครูตอเต่าแบ่งปัน ปกแผนการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ไฟล์ power point แก้ไขได้ ฟรี เว็บไซต์ krutortao.com ของเรา สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ แจกฟรี สื่อการสอน แนะนำ สื่อการสอนฟรี สำหรับครู ดาวน์โหลด ใบงาน ใบความรู้ สื่อออนไลน์ แบบฝึกหัด ข้อสอบ ทุกรายวิชา ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ บทความ เอกสารทางการศึกษา อบรมออนไลน์ เกียรติบัตร เพื่อให้ครูนำไปใช้เป็นในการจัดการเรียนการสอน ให้กับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ติดตามข่าวการศึกษา ข่าวทั่วไป อัพเดททันต่อเหตุการณ์ สอบครูผู้ช่วย แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย รวมทั้งหมดไว้ที่นี่ krutortao.com เว็บไซต์เพื่อการศึกษา และยังสามารถติดตามได้ทางแฟนเพจ ครูตอเต่า อีกช่องทาง เพื่อพัฒนาการศึกษาไทย โดยไม่แสวงหาผลกำไรแต่อย่างใด
สำนวนไทย คืออะไร?
สำนวนไทย คือ ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ จะเป็นการพูดเชิงเปรียบเทียบและมักจะไม่แปลความหมายตรง ๆ เช่น กินน้ำใต้ศอก
สำนวนไทย สุภาษิต และ คำพังเพย นั้น ดูเผิน ๆ จะคล้ายกันมากจนแยกกันแทบไม่ออก แต่สำนวนไทย จะเป็นเชิงอุปมาอุปมัยโดยมีนัยแฝงเร้นซ่อนอยู่อย่างลึกซึ้ง แยบคาย ต้องตีความ ทำความเข้าใจอีกที ซึ่งอาจแตกต่างไปความหมายเดิมหรืออาจคล้ายคลึงกับความหมายเดิมก็ได้
สำนวน สุภาษิตไทย รวมถึงคำพังเพยนั้น นิยมใช้กันมาอย่างยาวนานและแพร่หลาย นับเป็นอีกหนึ่งในวัฒนธรรมที่น่าภาคภูมิใจของไทยเรา สำนวนไทย สุภาษิตไทยและคำพังเพยนั้น เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้น ทั้งทางดีและทางร้าย จนมีการนำสิ่งที่เกิดขึ้นมาเรียบเรียงถ้อยคำใหม่ในเชิงสั่งสอนหรือเปรียบเทียบ จนเกิดเป็นสํานวนไทย สุภาษิต คำพังเพย และ สุภาษิตสำนวนไทยในที่สุด
สำนวนไทย พร้อมความหมาย
รวบรวมสำนวนไทยที่ใช้บ่อย ๆ จำนวน 200 คำ มาเรียงตามตัวอักษร ก-ฮ พร้อมความหมายของสำนวนไทยมาไว้ที่นี่ครบ ๆ แล้วตามด้านล่างนี้
สำนวนไทย หมวด ก
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
1 | กบเลือกนาย | ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนผู้บังคับบัญชาอยู่เรื่อย ๆ |
2 | กบในกะลาครอบ | ผู้มีความรู้และประสบการณ์น้อยแต่สำคัญตนว่ามีความรู้มาก |
3 | ก้มหน้า ก้มตา | ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างจำใจ |
4 | กรวดน้ำคว่ำกะลา | ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย |
5 | กรวดน้ำคว่ำขัน | การตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย เลิกไม่คบหาสมาคมกันต่อไป |
6 | กระจอกงอกง่อย | ยากจนเข็ญใจ |
7 | กระจัดพลัดพราย | แตกฉานซ่านเซ็นไป ไม่รวมอยู่ในพวกเดียวกัน |
8 | กระชังหน้าใหญ่ | จัดจ้าน, ออกหน้ารับเสียเอง เช่น แม่กระชังหน้าใหญ่ |
สำนวนไทย หมวด ข
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
9 | ขนทรายเข้าวัด | ทําบุญกุศลโดยวิธีนําหรือขนทรายไปก่อพระเจดีย์ทรายเป็นต้นที่วัด (สำ) หาประโยชน์ให้ส่วนรวม |
10 | ขนมพอสมกับน้ำยา | ใช้ในการเปรียบเทียบของทั้งสองสิ่งนั้นมีมูลค่า, ความดีความร้าย, ความสามารถ นั้นพอ ๆ กัน ไม่ด้อยไปกว่ากัน |
11 | ขนหน้าแข้งไม่ร่วง | ไม่กระทบกระเทือนถึงเดือดร้อน (ใช้แก่คนมั่งมีที่ต้องจ่ายเงินแม้จะมากแต่ก็ดูเหมือนเป็นจํานวนเล็ก ๆ น้อย ๆ) |
12 | ขมิ้นกับปูน | ชอบวิวาทกันอยู่เสมอเมื่ออยู่ใกล้กัน ไม่ถูกกัน |
13 | ขมเป็นยา | คำติมักเป็นประโยชน์ทำให้ได้คิด มักใช้เข้าคู่กับ หวานเป็นลม ว่า หวานเป็นลม ขมเป็นยา |
14 | ขวานฝ่าซาก | ผงผางไม่เกรงใจใคร (ใช้แก่กริยาพูด) |
15 | ขัดคอคน สนจมูกม้า | ยับยั้งคนอื่นให้อยู่ในลู่ในทาง ดังม้าพยศ ต้องสนเคราสนจมูก ก็จะควบคุมม้าได้ ทำให้ได้ม้ามาใช้ประโยชน์ |
16 | ขี่ช้างจับตั๊กแตน | การทำอะไรที่มากเกินตัว |
สำนวนไทย หมวด ค
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
17 | คงเส้นคงวา | เสมอต้นเสมอปลาย |
18 | คนละไม้คนละมือ | ต่างคนต่างช่วยกันทำ ทำด้วยความสามัคคีกัน อย่างตั้งใจช่วยเหลือเกื้อกูลกันทำงานเพื่อผลสำเร็จ |
19 | คนสามขามีปัญญาหาไว้ทัก ที่ไหนหลักแหลมคำจงจำเอา | ผู้เฒ่าผู้แก่หรือผู้สูงอายุนับว่าเป็นผู้ผ่านโลกมาก่อน ย่อมมีประสบการณ์มาก จะทำสิ่งใดจึงควรขอคำแนะนำ คนสามขา หมายถึง ผู้สูงอายุถือว่าเป็นผู้มีประสบการณ์มากควรที่เราจะต้องไปปรึกษาหารือ และสิ่งใดที่ท่านสอนและมีประโยชน์ควรจดจำไว้ |
20 | คมในฝัก | มีความรู้ความสามารถแต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาก็ไม่แสดง ออกมาให้ปรากฏ |
21 | คลื่นกระทบฝั่ง | เรื่องราวหรือเหตุการณ์สำคัญที่ค่อนข้างใหญ่โตแต่กลับเงียบหายไป |
22 | คลื่นใต้น้ำ | เหตุการณ์ที่กรุ่นอยู่ภายใน แต่ภายนอกดูเหมือนสงบเรียบร้อยหรือพวกคลื่นใต้น้ำชอบก่อหวอดก่อเหตุการณ์วุ่นวาย ภายในคอยแซะอย่างลับหลัง |
23 | คลุกคลีตีโมง | มั่วสุมหรืออยู่ร่วมคลุกคลีพัวพันกันอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา คำนี้โบราณท่านเปรียบไว้ด้วยคำที่มีความหมายบ่งบอกที่ค่อนข้างชัดเจน คือคำว่าคลุกคลีนั่นเอง |
24 | คลุมถุงชน | ลักษณะที่ทั้ง 2 ฝ่ายมาเผชิญกันทั้งที่ไม่เคยเห็นไม่เคยรู้จักกันมาก่อน มักใช้แก่ประเพณีแต่งงานสมัยก่อนที่พ่อแม่เป็นผู้จัดการให้โดยที่เจ้าตัวไม่เคยรู้จักหรือรักกันมาก่อนเหมือนแกมบังคับให้โดนจับคู่กัน |
สำนวนไทย หมวด ฆ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
25 | ฆ้องดีถ้าไม่ตีก็ไม่ดัง | ผู้ที่มีคุณความดีในตัวนั้นถ้าไม่มีใครยกย่องชมเชยก็จะไม่มีใครเห็นความดีนั้น เปรียบดังฆ้องคุณภาพดี แต่ก็ต้องมีคนดีถึงจะมีเสียงดังขึ้นมา |
26 | ฆ้องปากแตก | คนที่เก็บความลับไม่อยู่ ชอบนำความลับหรือเรื่องไม่ดีของผู้อื่นไปโพนทะนา ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน |
27 | ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก | การทำงานใหญ่ อย่าตระหนี่ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่าย ไม่เช่นนั้นอาจเสียการใหญ่ได้ |
28 | ฆ่าไม่ตายขายไม่ขาด | ตัดเยื่อใยไม่ขาด (มักใช้แก่พ่อแม่ที่รักลูกมากถึงจะโกรธจะเกลียดอย่างไรก็ตัดไม่ขาด) |
สำนวนไทย หมวด ง
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
29 | งงเป็นไก่ตาแตก | งงมากจนทำอะไรไม่ถูก ไม่รู้จะทำยังไง |
30 | งอมพระราม | มีความทุกข์ยากลำบากเต็มที่ ถูกกระทำอย่างหนักหน่วง เช่น เจ้าของโครงการคอนโดนี้วางแผนสร้างคอนโดที่ทันสมัยที่สุด หรูที่สุด ซึ่งใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมากทำให้หมุนเงินไม่ทันสุดท้ายผู้รับเหมาแต่ละรายก็เลยงอมพระรามไปตาม ๆ กัน |
31 | งอมืองอตีน | คนที่เกียจคร้าน วัน ๆ ไม่ทำอะไร ไม่สนใจขวนขวายการทำงาน |
32 | งูๆปลาๆ | รู้นิด ๆ หน่อย ๆ |
33 | งูกินหาง | พัวพันเกี่ยวโยงกันไปเป็นทอด ๆ จนหาที่สิ้นสุดไม่ได้ |
34 | งูจงอางหวงไข่ | รักหวง ปกป้องลูกของตัวเองถึงที่สุด ไม่ยอมให้ใครมาทำร้ายได้ง่าย ๆ |
35 | งูถูกตีขนดหาง | ถูกทำในจุดสำคัญทำให้รู้สึกเจ็บปวด และแค้นเคืองมาก |
36 | เงยหน้าอ้าปาก | การมีฐานะที่ดีขึ้นกว่าเดิม ดูแลตัวเองได้ไม่เดือดร้อน มีฐานะที่พอทัดเทียมกับเพื่อนได้ |
สำนวนไทย หมวด จ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
37 | จมูกมด | รู้ทันเหตุการณ์ผู้หญิงคนนั้นเป็นคนจมูกมด มักจะรู้เรื่องราวทุกอย่างในหมู่บ้านตลอดเวลา รู้อะไรไปหมด รู้ก่อนคนอื่นตลอด |
38 | จมไม่ลง | บุคคลที่เคยมีฐานะร่ำรวยหรือมีชื่อเสียงมาก่อน แต่ปัจจุบันยากจนหรือไม่มีชื่อเสียงอีกแล้ว แต่ยังประพฤติตนเหมือนกับตอนที่ยังมีฐานะหรือชื่อเสียงดีเหมือนแต่ก่อน |
39 | จรกาหน้าหนู | คนที่เข้ากับคนอื่นไม่ได้ |
40 | จระเข้ขวางคลอง | คนที่ชอบอะไรขัดขวางผู้อื่น คอยกีดกันไม่ให้ผู้อื่นกระทำการได้อย่างสะดวก |
41 | จองหองพองขน | เย่อหยิ่ง อวดดี ทะนงตน หรือไม่รู้จักบุญคุณด้วยการแสดงอาการลบหลู่ผู้มีพระคุณ |
42 | จับปลาสองมือ | การที่คน ๆ หนึ่งทำสิ่งใดที่ยากพร้อม ๆ กันทำให้ล้มเหลวทั้งสองสิ่งนั้น |
43 | จับปูใส่กระด้ง | การที่คน ๆ หนึ่งพยายามดูแลเด็กเล็ก ๆ โดยพยายามให้อยู่นิ่ง ๆ หรือเป็นระเบียบ แต่เด็กก็ซุกซนไม่อยู่นิ่ง |
44 | จับแพะชนแกะ | การทำการแก้ปัญหาเรื่องราวหนึ่งโดยเร่งด่วนเพื่อให้เหตุการณ์นั้นสามารถผ่านไปได้ก่อน โดยการแก้ปัญหานั้นจะเป็นลักษณะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อนไม่มีความสมบูรณ์นัก |
สำนวนไทย หมวด ฉ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
45 | ฉลาดแกมโกง | ฉลาดในทางทุจริต |
46 | ฉ้อราษฎร์บังหลวง | ทุจริตในหน้าที่การงานที่ตนเองรับผิดชอบ |
สำนวนไทย หมวด ช
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
47 | ชนักติดหลัง | คนที่เคยทำความชั่วหรือความผิด แล้วสิ่งเหล่านั้นยังคงติดตัวอยู่ เหมือนเป็นตราบาป |
48 | ชักแม่น้ำทั้งห้า | การพูดจาหว่านล้อม หาเหตุผลต่างๆมาอ้างเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ และได้ในสิ่งที่ต้องการ |
49 | ชักใบให้เรือเสีย | การพูดหรือการกระทำใด ๆ ที่ทำให้ การสนทนาหรือเหตุการณ์นั้น ๆ ต้องเขว ออกนอกเรื่อง นอกประเด็นไป |
50 | ชักใย | บงการอยู่เบื้องหลัง |
51 | ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน | ในช่วงชีวิตของคนเราไม่มีอะไรเป็นที่แน่นอน มีทั้งสุขและทุกข์ มีทั้งดีและร้าย สลับกันไป |
52 | ช้างสาร งูเห่า ข้าเก่า เมียรัก | สิ่งที่ไม่น่าไว้วางใจ เพราะรู้ตื้นหนาบางของเราเป็นอย่างดี |
53 | ช้างสารชนกัน หญ้าแพรกก็แหลกลาญ | คนใหญ่คนโตขัดแย้งมีปัญหากัน หรือผู้นำของแต่ละฝ่ายนั้นมีปัญหาทะเลาะกัน แต่ส่งผลให้ผู้น้อยหรือประชาชน ลูกน้องนั้นได้รับผลกระทบไปตาม ๆ กัน |
54 | ช้างเท้าหลัง | ภรรยา (อาจจะเป็นผู้ชายก็ได้ในปัจจุบัน) ผู้ตาม ผู้คอยหนุนหลัง สนับสนุนผู้นำของตัวเอง หรือสามี |
สำนวนไทย หมวด ซ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
55 | ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน | ความซื่อสัตย์ทำให้คนเชื่อใจ มีคนนับถือ ไม่มีวันอดตาย มีคนคอยช่วยเหลือ แต่หากมีนิสัยคดโกง เมื่อถูกจับได้ย่อมไม่มีใครอยากช่วยเหลือหรือเกี่ยวข้องด้วย |
56 | ซื้อร่มหน้าฝน | ซื้อของโดยไม่วางแผนล่วงหน้ามัก ได้ราคาแพงเพราะของนั้นเป็นที่จำเป็นต้องใช้ ในตอนนั้น ทำให้มีโอกาศโดนกดราคา ไม่สามารถต่อรองได้มากนัก หรือราคาเกินจริง |
57 | ซื่อเหมือนแมวนอนหวด | เชื่อง ไม่มีพิษมีภัย แต่ความจริงแล้วกลับซ่อนความร้ายกาจ ความเจ้าเล่ห์ เอาไว้ภายใน โดยโบราณท่านเปรียบไว้เหมือนแมวเชื่องๆตัวหนึ่ง แต่ถึงเวลาที่ตื่นตัวกลับปราดเปรียวและมีพิษสงร้ายกาจ |
58 | ซุ่มซ่ามเหมือนจีนใหม่ | ทำอะไรมักผิด ๆ ถูก ๆ เพราะไม่เคยทำมาก่อน ไม่มีประสบการณ์ ท่าทางไม่ทะมัดทแมง กิริยามารยาท ไม่สุภาพเรียบร้อย |
สำนวนไทย หมวด ฒ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
59 | เฒ่ามะละกอ | ยิ่งแก่ยิ่งไร้แก่นสาร เหมือนผลมะละกอที่ทั้งเละทั้งกลวง ลำต้นไม่มั่นคงโค่นล้มได้ง่าย เปรียบกับคนที่ไร้สาระ ไม่มีเป้าหมายไม่มั่นคง |
60 | เฒ่าหัวงู | คนแก่หรือคนมีอายุมากที่มีนิสัยเจ้าชู้ มีเล่ห์เหลี่ยม ชอบใช้กลอุบาย หลอกล่อเด็กสาวไปบำเรอความสุข ในทางกามารมณ์ |
สำนวนไทย หมวด ด
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
61 | ดอกทอง | หญิงใจง่ายในทางประเวณี (ใช้เป็นคำด่า) |
62 | ดอกพิกุลร่วง | อาการนิ่งไม่พูด กลัวดอกพิกุลร่วง |
63 | ดอกไม้ริมทาง | ผู้หญิงใจง่ายที่ผู้ชายสามารถเกี้ยวพาราสีเอามาเชยชมได้ง่ายๆ ทำให้ไม่มีความสำคัญ |
64 | ดาบสองคม | การกระทำที่อาจเกิดผลดีและผลร้ายได้พอๆกัน เปรียบได้กับดาบ ถ้าดาบนั้นมีคมทั้งสองข้าง มันก็ดีใช้ฟันได้สะดวก ขึ้น แต่ในทางกลับกัน ถ้าดาบมีคมทั้งสองข้าง เมื่อเราใช้ดาบฟันไปข้างหนึ่ง คมอีกข้างหนึ่ง ก็อาจทำร้ายถูกตัวเราได้ |
65 | ดาวล้อมเดือน | คนที่มีบริวารอยู่รายล้อมเป็นจำนวนมาก เหมือนดวงดาวที่อยู่ล้อมดวงจันทร์ |
66 | ดินพอกหางหมู | นิสัยที่ชอบปล่อยให้การงานคั่งค้างสะสม ผัดวันประกันพรุ่ง เกียจคร้าน ไม่ยอมทำให้สิ่งนั้นสำเร็จเสร็จสิ้นโดยเร็ว จนในที่สุดการงานต่างก็สะสมพอกพูนขึ้นจนยากที่จะสะสางให้เสร็จได้โดยง่าย |
67 | ดีดลูกคิดรางแก้ว | คิดรอบคอบแล้วมีแต่ได้อย่างเดียว |
68 | เด็กอมมือ | คนที่ไม่รู้ประสีประสา ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไร ไม่มีประสบการณ์ |
สำนวนไทย หมวด ต
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
69 | ตกถังข้าวสาร | ชายที่ได้เมียรวย |
70 | ตกนรกทั้งเป็น | ได้รับความลำบากแสนสาหัส |
71 | ตกน้ำไม่ว่าย | ไม่ช่วยตัวเอง ประมาณว่าขนาดตกน้ำ แล้วยังไม่ดิ้นรนว่ายน้ำช่วยตัวเอง |
72 | ตกหลุมพราง | ถูกลวงด้วยเล่ห์กลหรืออุบาย, เสียรู้, หลงกล กลลวง หลุมพราง |
73 | ตกเบ็ด | ล่อให้หลง |
74 | ตดไม่ทันหายเหม็น | เร็วมาก |
75 | ต้นคดปลายตรง | คนชั่วที่กลับตัวเป็นคนดี |
76 | ต้นร้าย ปลายดี | ตอนแรกประพฤติตัวไม่ดี แต่ภายหลังกลับสํานึกตัวได้แล้วประพฤติดีตลอดไป ตอนต้นไม่ดีไปดีเอาตอนหลัง โบราณท่านจึงกล่าวไว้ว่า ต้นร้าย แต่ ปลายดี |
สำนวนไทย หมวด ถ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
77 | ถ่มน้ำลายรดฟ้า | ดูหมิ่นหรือคิดร้ายกับผู้ที่เป็นที่เคารพของคนทั่วไปหรือมีฐานะสูงกว่าตน อนาคตอันใกล้จะเกิดผลร้ายกับตน |
78 | ถวายหัว | ยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อชาติ, เอาชีวิตเป็นประกัน ทำจนสุดความสามารถ, ยอมสู้ตายสู้ตายถวายชีวิตให้ มอบชีวิตมอบความภักดีให้อย่างซื่อสัตย์ |
79 | ถอนขนห่าน | การที่รัฐเรียกเก็บภาษีจากประชาชนในอัตราสูง ขูดรีดประชาชน รีดงบเก็บภาษี |
80 | ถอนหงอก | ไม่นับถือความเป็นผู้ใหญ่ พูดว่าให้เสียผู้ใหญ่ |
81 | ถ่านไฟเก่า | ชายหญิงที่เคยรักใคร่หรือเคยได้เสียกันมาก่อนแม้เลิกร้างกันไป เมื่อมาพบกันใหม่ย่อมรักใคร่หรือปลงใจกันได้ง่ายขึ้น |
82 | ถีบหัวส่ง | ไล่ไปให้พ้น, ไม่ไยดีอีกต่อไป. |
83 | เถรตรง | ซื่อหรือตรงจนเกินไป, ไม่มีไหวพริบ, ไม่รู้จักผ่อนผันสั้นยาว, ไม่รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา. |
84 | เถียงคำไม่ตกฟาก | เถียงได้ไม่หยุดปาก มักจะใช้กับเด็กที่เถียงผู้ใหญ่อยู่เสมอ |
สำนวนไทย หมวด ท
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
85 | ทองไม่รู้ร้อน | การกระทำที่เฉยเมย ไม่กระตือรือร้น ไม่สนใจว่าผู้อื่นจะเดือดร้อนหรือรู้สึกอย่างไร |
86 | ทำได้อย่างเป็ด | ทำได้ทุกอย่าง แต่ไม่เป็นเลิศสักอย่าง |
87 | ทิ้งทวน | ทําอย่างไว้ฝีมือ, ทําจนสุดความสามารถ, ไม่ทําอีกต่อไป; ปล่อยฝีมือฝีปากเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะเลิกไป; ฉวยโอกาสทําเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะหมดอํานาจ. |
88 | ทิ้งไพ่ใบสุดท้าย | การทิ้งทวน ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่เป็นครั้งสุดท้าย |
89 | ทีใครทีมัน | โอกาสของใครก็เป็นของคนนั้น. |
90 | เทน้ำเทท่า | คล่อง, รวดเร็ว, มักใช้ประกอบคำ ขาย เป็น ขายดีอย่างเทนํ้าเทท่า. |
91 | แทงใจดำ | พูดตรงกับความในใจของผู้ฟัง |
สำนวนไทย หมวด ธ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
92 | ธุระไม่ใช่ | ไม่ใช่เรื่องของตัวเอง ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องคนอื่นที่ไม่ได้มีผลอะไรกับตัวเลยไม่ไปวุ่นวายกับกิจการงานของคนอื่นโดยที่ตัวเองไม่เกี่ยวข้อง |
สำนวนไทย หมวด น
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
93 | นกกระจอกไม่ทันกินน้ำ | อาการที่สำเร็จอย่างรวดเร็วอย่างคาดไม่ถึง |
94 | นกกระปูด | คนที่ชอบเปิดเผยความลับ |
95 | นกต่อ | คนที่ทําหน้าที่ติดต่อหรือชักจูงหลอกล่อคนอื่นให้หลงเชื่อ (ใช้ในทางไม่ดี). |
96 | นกรู้ | ผู้ที่มีไหวพริบรู้เท่าทันเหตุการณ์หรือภัยที่จะมาถึงตน. |
97 | นกสองหัว | คนที่ทําตัวฝักใฝ่เข้าด้วยทั้ง ๒ ฝ่ายที่ไม่เป็นมิตรกันโดยหวังประโยชน์เพื่อตน |
98 | นอกคอก | ประพฤติไม่ตรงตามแบบตามธรรมเนียมประเพณีของบรรพบุรุษ. |
99 | นอนหลับทับสิทธิ์ | ไม่ใช้สิทธิ์ที่ตนมีอยู่เมื่อถึงคราวจะใช้, ทับสิทธิ์ ก็ว่า. |
100 | นายว่าขี้ข้าพลอย | พลอยพูดผสมโรงติเตียนผู้อื่นตามนายไปด้วย. |
สำนวนไทย หมวด บ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
101 | บนบานศาลกล่าว | ขอร้องให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ นำของมาบนหรือสัญญาว่าจะทำเพื่อให้สิ่งศักสิทธิ์ช่วยเหลือเกื้อหนุน |
102 | บอกศาลา | ประกาศไม่รับผิดชอบหรือตัดขาดไม่ให้ความอุปการะเลี้ยงดูอีกต่อไป. |
103 | บ่างช่างยุ | คนที่ชอบพูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกกัน. |
104 | บ้านนอกคอกนา | บ้านนอกขอกนา. |
105 | บ้าหอบฟาง | บ้าสมบัติ เห็นอะไร ๆ เป็นของมีค่าจะเอาทั้งนั้น, อาการที่หอบหิ้วสิ่งของพะรุงพะรัง. |
106 | บุญหนักศักดิ์ใหญ่ | มีฐานันดรศักดิ์สูงและอํานาจวาสนายิ่งใหญ่ เช่น น้อยหรือนางบุญหนักศักดิ์ใหญ่. (สังข์ทอง). |
107 | เบี้ยหัวแตก | เงินที่ได้มาไม่เป็นกอบเป็นกําแล้วใช้จ่ายหมดไปโดยไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน. |
สำนวนไทย หมวด ป
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
108 | ปล่อยนกปล่อยปลา | ทําให้หลุดออกมาด้วยคาถาอาคม เช่น สะเดาะโซ่ตรวน สะเดาะกุญแจ; ทำให้หมดสิ้นไปหรือเบาบางลง เช่น ทำบุญสะเดาะเคราะห์ ปล่อยนกปล่อยปลาสะเดาะเคราะห์. |
109 | ปล่อยไก่ | แสดงความโง่ออกมา |
110 | ปลากระดี่ได้น้ำ | แสดงท่าทางดีใจจนเกินงาม |
111 | ปอกกล้วยเข้าปาก | ง่าย, สะดวก. |
112 | ปัดสวะ | [-สะหฺวะ] ก. ทําอย่างขอไปที, ผลักให้พ้นหน้าที่ความรับผิดชอบของตนไป. |
113 | ปั้นน้ำเป็นตัว | สร้างเรื่องเท็จให้เห็นเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา. |
114 | ปากดี | พูดเเบบไม่เกรงกลัว |
115 | ปากตลาด | ถ้อยคำที่โจษหรือเล่าลือกัน เช่น ปากตลาดเขาว่ากันมาอย่างนี้. ปากจัด. |
สำนวนไทย หมวด ผ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
116 | ผงเข้าตาตัวเอง | เมื่อปัญหาหรือความเดือดร้อนเกิดแก่ผู้อื่น ช่วยแก้ไขให้เขาได้ แต่เมื่อเกิดแก่ตน กลับแก้ไขไม่ได้. |
117 | ผักชีโรยหน้า | การทำความดีหรือกระทำการใดๆเพียงเพื่อให้ผู้อื่นเห็นว่างานเสร็จแล้ว เรียบร้อย สวยงาม แต่ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งนั้นยังไม่สำเร็จเรียบร้อย |
118 | ผ้าขี้ริ้วห่อทอง | ผู้ที่มีฐานะร่ำรวย แต่ทำตัวสมถะหรือแต่งตัวซ่อมซ่อ |
119 | ผิดเป็นครู | ผิดแล้วจำไว้จะได้ไม่ทำอีก |
120 | ผีถึงป่าช้า | ต้องยอมทําด้วยความจําใจหรือไม่มีทางเลือก. |
121 | ผีไม่มีศาล | ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง. |
122 | ผู้หญิงยิงเรือ | ผู้หญิงทั่วไป เช่น ของพม่าเป็นเรื่องของพระอินทร์ ดูสนิทกว่าที่จะให้ผู้หญิงยิงเรือ, ผู้หญิงริงเรือ ก็ว่า เช่น เห็นผู้หญิงริงเรือที่เนื้อเหลือง. (อภัย). |
สำนวนไทย หมวด ฝ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
123 | ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง | สั่งเสียเป็นครั้งสุดท้าย, ทําการอันใดที่เป็นสิ่งสําคัญเพื่อไว้อาลัยก่อนจากไป, นํ้าสั่งฟ้า ปลาสั่งฝน ก็ว่า. |
124 | ฝันกลางวัน | นึกฝันถึงสิ่งที่ไม่อาจเป็นจริงได้. |
125 | ฝากผีฝากไข้ | ขอยึดเป็นที่พึ่งจนวันตาย. |
สำนวนไทย หมวด พ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
126 | พกนุ่น | ใจเบา, ใช้เข้าคู่กับคำ พกหิน ในสำนวนว่า พกหินดีกว่าพกนุ่น. |
127 | พร้าขัดหลังเล่มเดียว | คนดีถ้าขยันก็ตั้งตัวได้ |
128 | พริกกะเกลือ | กับข้าวชนิดหนึ่งเอามะพร้าวตําจนมีนํ้ามันออกมา ใส่เกลือกับนํ้าตาล มีรสหวานเค็ม, เครื่องจิ้มผลไม้เปรี้ยวเป็นต้น ทำด้วยพริก เกลือ และน้ำตาล. |
129 | พลิกแผ่นดิน | เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในระบบหรือวิธีการปกครองแผ่นดิน. ว. อาการที่ตามหาเท่าไร ๆ ก็ไม่พบ เช่น หาจนพลิกแผ่นดิน. |
130 | พอลืมตาอ้าปาก | พอมีพอกิน |
131 | แพะรับบาป | คนที่ต้องรับผิดในสิ่งที่ตนไม่ได้กระทำ |
132 | แพแตก | ลักษณะที่ครอบครัวเป็นต้นแตกกระจัดกระจายแยกย้ายกันไปเพราะหัวหน้าครอบครัวหรือผู้เป็นหลักเป็นประธานประสบความวิบัติหรือเสียชีวิต. |
สำนวนไทย หมวด ฟ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
133 | ฟังความข้างเดียว | เชื่อถือแต่ฝ่ายเดียวโดยไม่ฟังความอีกฝ่ายหนึ่ง. |
134 | ฟังหูไว้หู | การรับฟังเรื่องราวต่าง ๆ แต่ไม่เชื่อทั้งหมดในทันที แต่รับฟังไว้ก่อนแล้วจึงพิจารณาในภายหลังว่าสิ่งนั้นเชื่อถือได้หรือไม่ |
135 | ฟ้าสูงแผ่นดินต่ำ | รู้ที่ต่ำที่สูง รู้อะไรควรไม่ควร |
136 | ไฟสุมขอน | ไฟที่คุกรุ่นอยู่ในขอนไม้ขนาดใหญ่ ดับยาก, โดยปริยายหมายถึงอารมณ์รัก โกรธ หรือแค้นเป็นต้นที่ร้อนรุ่มอยู่ในใจ. |
137 | ไฟไหม้ฟาง | อารมณ์ที่เกิดขึ้นอย่างวู่วาม สักพักก็หาย |
สำนวนไทย หมวด ภ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
138 | ภูเขาเลากา | มากมายก่ายกอง |
สำนวนไทย หมวด ม
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
139 | ม้วนเสื่อ | เสียการพนันจนหมดตัว; เลิกกิจการเพราะขาดทุนจนไม่สามารถดําเนินกิจการนั้นต่อไปได้. |
140 | มะนาวไม่มีน้ำ | พูดห้วน ๆ. |
141 | มัดมือชก | บังคับหรือใช้วิธีการใด ๆ ให้อีกฝ่ายหนึ่งตกอยู่ในภาวะจำยอมโดยไม่มีทางต่อสู้. |
142 | ม้าดีดกระโหลก | กิริยากระโดกกระเดก ไม่เรียบร้อย |
143 | มาเหนือเมฆ | มีความคิดหรือชั้นเชิงเหนือผู้อื่น; มาหรือปรากฏขึ้นโดยไม่คาดหมาย. |
144 | มืดแปดด้าน | นึกไม่เห็น, คิดไม่ออก, จนปัญญาไม่รู้จะหาทางออกได้อย่างไร, เช่น ตอนนี้รู้สึกมืดแปดด้านไปหมด. |
145 | มือซุกหีบ | เข้าไปยุ่งเกี่ยว รับภาระหรือยุ่งเรื่องอื่นที่ไม่ใช่ภาระของตนเอง |
146 | มือที่สาม | บุคคลฝ่ายที่ ๓ ซึ่งมิใช่คู่กรณี แต่สอดเข้ามาเกี่ยวข้องในกิจกรรมหรือชีวิตของผู้อื่น มักจะเข้ามายุแหย่ให้เกิดความแตกแยกหรือบ่อนทำลาย. |
สำนวนไทย หมวด ย
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
147 | ยกภูเขาออกจากอก | โล่งอก, หมดวิตกกังวล, ปลดเปลื้องภาระที่หนักอกหนักใจให้หมดไป. |
148 | ยกยอปอปั้น | ยกให้, มอบให้, เช่น ยกยอปอปั้นลูกสาวให้เขาไป; ยกย่องเกินจริง เช่น ยกยอปอปั้นให้เป็นคุณหญิง. |
149 | ยกเค้า | เอาต้นทุนหรือกองทุนไปหมด (ใช้แก่การพนัน) เช่น แทงยกเค้า; ขโมยทรัพย์สินไปหมด เช่น เขาถูกยกเค้า. |
150 | ยกเมฆ | เพ่งดูเมฆเมื่อเห็นเป็นรูปอะไรแล้ว ก็ถือเป็นนิมิตเพื่อทำนายว่าดีหรือร้าย เช่นในเวลาจะยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ ก็ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ เช่น ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว เป่าทั่วด้วยคาถาประกาศิต ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติดอัมพร. (ขุนช้างขุนแผน), ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปคนหัวขาดหรือแขนขาดขาขาด เป็นนิมิตไม่ดี ไม่ควรยกทัพ แม้ผู้ทรงวิทยาคุณอาจบริกรรมต่อหัวหรือแขนขาให้สมบูรณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ไม่ควรยกทัพ เช่น กอดอกยกเมฆดูนิมิต ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหา… |
151 | ยืนกระต่ายขาเดียว | พูดยืนยันอยู่คำเดียว โดยไม่เปลี่ยนความคิดเดิม, มักพูดว่า ยืนกระต่ายขาเดียว. |
152 | ยื่นหมูยื่นแมว | แลกกันโดยต่างฝ่ายต่างให้และรับในเวลาเดียวกัน. |
153 | ยืมจมูกคนอื่นหายใจ | อาศัยผู้อื่นทำงานให้มักไม่สะดวกเหมือนทำด้วยตนเอง, พึ่งจมูกคนอื่นหายใจ หรือ เอาจมูกผู้อื่นมาหายใจ ก็ว่า. |
154 | ยุแยงตะแคงรั่ว | ยุให้ทั้ง ๒ ฝ่ายแตกกัน. |
สำนวนไทย หมวด ร
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
155 | ร่มโพธิ์ร่มไทร | ที่พึ่ง, ผู้ที่ให้ความคุ้มครองและความอบอุ่นใจ, เช่น พ่อแม่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของลูก. |
156 | ร่มไม้ชายคา | ที่พึ่งพาอาศัย เช่น ต้องไปพึ่งร่มไม้ชายคาของผู้อื่น. |
157 | ร้อนตัว | กลัวว่าโทษหรือความเดือดร้อนจะมาถึงตัว. |
158 | รักนักมักหน่าย | รักกันสนิทสนมกันมากก็ขาดความเกรงใจกัน |
159 | รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี | หากลูกทำผิดก็ควรอบรมสั่งสอน ดุด่าว่ากล่าว และลงโทษเมื่อกระทำความผิดตามสมควร |
160 | รัดเข็มขัด | ประหยัด เช่น ในภาวะที่เศรษฐกิจไม่ดี ประชาชนต้องรัดเข็มขัด. |
161 | รีดเลือดกับปู | การบังคับขู่เข็ญเพื่อเอาผลประโยชน์กับผู้ที่ไม่มีความสามารถที่จะให้สิ่งที่ต้องการได้ เช่น การรีดไถเงินจากคนที่มีความยากจน |
162 | รู้เท่าไม่ถึงการณ์ | เขลา, คาดไม่ถึงว่าจะเกิดเหตุร้ายขึ้น, เช่น รับฝากของโจรไว้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าของนั้นเป็นของโจร. |
สำนวนไทย หมวด ฤ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
163 | ฤๅษีแปลงสาร | ชื่อวิธีเขียนหนังสือลับแห่งไทยโบราณกลับตัวอักษรข้างหลังมาไว้ข้างหน้า, โดยปริยายหมายความว่า เปลี่ยนข้อความเดิมให้มีความหมายตรงกันข้าม. |
สำนวนไทย หมวด ล
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
164 | ลงเรือลำเดียวกัน | ทำงานร่วมกัน, ร่วมรับผลการกระทำด้วยกัน. |
165 | ลงแขก | ร่วมแรงเพื่อนบ้านมาช่วยกันทำงานเช่นดำนา เกี่ยวข้าว ให้ลุล่วงเร็วขึ้นโดยไม่รับค่าจ้าง และผลัดเปลี่ยนช่วยกันไปตามความจำเป็นของแต่ละบ้าน; รุมกันข่มขืนกระทําชําเราหญิง. |
166 | ล้มหมอนนอนเสื่อ | ป่วยจนต้องนอนรักษาตัว |
167 | ลับลมคมใน | ความลับ, สิ่งที่เปิดเผยไม่ได้อยู่ภายใน, สิ่งที่ปกปิดเอาไว้ |
168 | ลางเนื้อชอบลางยา | ของสิ่งเดียวกัน แต่คนหลาย ๆ คนจะชอบของชิ้นนี้มากน้อยไม่เท่ากัน เพราะรสนิยมของแต่ละคนไม่เหมือนกัน |
169 | ลิงหลอกเจ้า | ล้อหลอกผู้ใหญ่เวลาผู้ใหญ่เผลอ. |
170 | ลูกศิษย์มีครู | คนมีครูย่อมมีเกียรติ |
171 | เล็กพริกขี้หนู | เล็กแต่เก่งกล้าสามารถมาก, เล็กแต่มีพิษสง. |
สำนวนไทย หมวด ว
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
172 | วัดรอยตีน | เทียบดูว่าพอสู้ได้หรือไม่ เช่น ลูกศิษย์วัดรอยเท้าครู, คอยเทียบตัวเองกับผู้ที่เหนือกว่าเพื่อชิงดีชิงเด่น เช่น ลูกน้องวัดรอยตีนหัวหน้า. |
173 | วัวพันหลัก | อาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่น ให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ (มักใช้ในทางชู้สาว) มาจากสำนวนเต็มว่า แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก หมายความว่า ชายที่ใช้แม่สื่อไปติดต่อหญิงที่ตนชอบ แล้วไม่ได้ตัวหญิงคนนั้น เลยเอาแม่สื่อนั้นเองเป็นภรรยา หรือผู้หญิงทำทีรับอาสาไปติดต่อหญิงคนใดคนหนึ่งให้แก่ชาย แต่ในที่สุดก็เอาตัวเองเข้าพัวพันจนได้ชายคนนั้นเป็นสามี. |
174 | วัวแก่กินหญ้าอ่อน | ชายแก่ได้หญิงสาวเป็นภรรยา |
175 | ว่านอนสอนง่าย | อยู่ในโอวาท, เชื่อฟังคำสั่งสอนโดยดี. |
176 | ว่าวติดลม | ว่าวที่ลอยกินลมอยู่ในอากาศ. ว. เพลินจนลืมตัว. |
177 | ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง | การต่อว่าผู้อื่นว่าทำในสิ่งผิด แต่ตนเองกับประพฤติผิดแบบนั้นซะเอง |
สำนวนไทย หมวด ศ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
178 | ศรศิลป์ไม่กินกัน | (กลอน) ก. ทําอันตรายกันไม่ได้ เช่น ถ้อยทีศรศิลป์ไม่กินกัน. (รามเกียรติ์ ร. ๖); ไม่ถูกกัน, ไม่ลงรอยกัน, ไม่ชอบหน้ากัน, เช่น พี่น้องคู่นี้ศรศิลป์ไม่กินกัน เจอหน้ากันเมื่อใดต้องทะเลาะกันเมื่อนั้น. |
179 | ศิษย์มีครู | คนเก่งที่มีครูเก่ง. |
สำนวนไทย หมวด ส
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
180 | สมน้ำสมเนื้อ | พอเหมาะพอดีกัน เช่น ขิงก็ราข่าก็แรง สมน้ำสมเนื้อกันดีแล้ว. |
181 | สวมหัวโขน | เอาหัวโขนสวมศีรษะ, โดยปริยายหมายความว่า ดำรงตำแหน่งหน้าที่ใหญ่โตหรือมียศถาบรรดาศักดิ์แล้วมักลืมตัวชอบแสดงอำนาจ. |
182 | สวมเขา | ทำความอัปยศให้แก่สามีด้วยการมีชู้โดยที่สามีไม่รู้ระแคะระคาย |
183 | สองหน้า | ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปคล้ายเปิงมางแต่ใหญ่กว่า ใช้ตีทั้ง ๒ ข้าง. ว. ที่ทําตัวให้ทั้ง ๒ ฝ่ายต่างเข้าใจผิดกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน เช่น เขาเป็นคนสองหน้า อย่าไว้ใจเขานักนะ. |
184 | สองหัวดีกว่าหัวเดียว | ร่วมกันคิด ร่วมกันปรึกษา |
185 | สอดรู้สอดเห็น | เที่ยวเข้าไปรู้ในเรื่องของคนอื่น (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ใครเขาจะทำอะไรกันที่ไหน ก็เที่ยวไปสอดรู้เขาหมด เขาเป็นคนช่างสอดรู้สอดเห็น มีเรื่องของชาวบ้านมาเล่าเสมอ. |
186 | สอนลูกให้เป็นโจร | ไม่ว่ากล่าวอบรมสั่งสอนลูกให้เป็นคนดี เมื่อลูกไปลักขโมยของใครมาได้กลับชมเชยว่าเก่ง ในที่สุดลูกก็กลายเป็นโจร. |
187 | สันหลังยาว | เรียกคนเกียจคร้านเอาแต่นอนว่า ขี้เกียจสันหลังยาว หรือใช้สั้น ๆ ว่า สันหลังยาว ก็มี, ขี้เกียจหลังยาว ก็ว่า. |
สำนวนไทย หมวด ห
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
188 | หญ้าปากคอก | สะดวก, ง่าย, ไม่มีอะไรยุ่งยาก |
189 | หนอนบ่อนไส้ | ฝ่ายตรงข้ามที่เข้ามาทำทีเป็นพวกเพื่อบ่อนทำลาย. |
190 | หนอนหนังสือ | คนที่ชอบหมกมุ่นอยู่กับการอ่านหนังสือ. |
191 | หนักเอาเบาสู้ | ขยันขันแข็งไม่เกี่ยงงาน |
192 | หนักแผ่นดิน | ไม่รู้คุณของแผ่นดินที่อาศัย, ทรยศต่อบ้านเมืองของตน, เสนียดสังคม. |
193 | หนังหน้าไฟ | ผู้ได้รับความเดือดร้อนก่อนผู้อื่น เช่น ลูกทำความผิดมา พ่อแม่ก็ต้องเป็นหนังหน้าไฟ. |
194 | หน้าฉาก | ที่แสดงให้ปรากฏเปิดเผย เช่น ฐานะหน้าฉากของเขาเป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียง แต่ความจริงค้าขายยาเสพติด, ตรงข้ามกับ หลังฉาก. น. ความเป็นไปหรือพฤติกรรมที่เปิดเผย, ตรงข้ามกับ หลังฉาก. |
195 | หน้าต่างมีหู ประตูมีช่อง | ความลับรักษาได้ยาก |
สำนวนไทย หมวด อ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|
196 | ออกลาย | เริ่มแสดงความไม่ดีให้ปรากฏหลังจากที่แสร้งทําดีมาแล้ว |
197 | อ้าปากเห็นลิ้นไก่ | รู้ทันกัน รู้ทันสิ่งที่จะทำ |
198 | เอาข้างเข้าถู | ไม่ใช้เหตุผล ดื้อดันจะเอาชนะให้ได้ เอาสีข้างเข้าถู ก็ว่า |
199 | เอาน้ำลูบท้อง | อดทนในยามยามโดยกินน้ำแทนข้าว |
200 | เอาปูนหมายหัว | ผูกอาฆาตไว้ คาดโทษไว้ เชื่อแน่ว่าจะเป็นไปตามที่คาดหมายไว้ ประมาทหน้าว่าไม่มีทางจะเอาดีได้ |
เปรียบเทียบ สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย
สำนวน สุภาษิต คำพังเพยนั้น ดูเผินๆจะคล้ายกันมากจนแยกกันแทบไม่ออก ซึ่งในความเป็นจริงแล้วทั้ง 3 คำมีความแตกต่างกันอยู่ โดยที่สํานวนไทยจะเป็นการพูดเชิงเปรียบเทียบและมักจะไม่แปลความหมายตรง ๆ เช่น กินน้ำใต้ศอก ส่วนสุภาษิตจะเป็นเชิงสั่งสอนหรือให้ข้อคิด เช่น หัวล้านได้หวี วานรได้แก้ว และสุดท้ายคำพังเพย จะเป็นลักษณะของการเปรียบเทียบของสองสิ่ง เช่น กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ เป็นต้น
สำนวนไทย คือ | สุภาษิต คือ |
สำนวนไทย คือถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ | สุภาษิต สุภาษิตไทย หรือ คำสุภาษิต คือคำในภาษาไทยที่ใช้ในการสื่อสารเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย และเป็นเชิงสั่งสอนหรือให้ข้อคิด หรือตักเตือนไปในทางบวกคือให้ความหมายในแง่ดีเป็นหลัก โดยสุภาษิตมักจะถูกแต่งให้คล้องจองเรียงร้อยกันฟังแล้วรื่นหู เพื่อให้จดจำได้ง่าย |
คำพังเพย คือ | คำคม คือ |
คำพังเพย คือ ถ้อยคำอุปมา ที่ว่าด้วยการกล่าวกระทบเสียดสี ซึ่งมาจากเหตุการณ์เรื่องราวหรือความเป็นไปในวิถีชีวิตของคนรุ่นก่อนเป็นสิ่งควรค่าแก่การเรียนรู้ และจดจำเป็นอย่างยิ่ง | คำคม คือ ถ้อยคำสำนวนที่ใช้ในปัจจุบันทันด่วน ส่วนมากเป็นถ้อยคำที่หลักแหลม ฟังแล้วต้องยกนิ้วให้ ผู้ที่คิดคำคมต่าง ๆ ออกมามักจะเป็นผู้ที่ฉลาดปราดเปรื่อง นักปราชญ์ เช่นคำคมคนจีน เป็นต้น |
การแบ่งประเภท สำนวนไทย
การแบ่งตามมูลเหตุ
หมวดที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น ตื่นแต่ไก่โห่ ปลากระดี่ได้น้ำ แมวไม่อยู่หนูร่าเริง ไก่แก่แม่ปลาช่อน
หมวดที่เกิดจากการกระทำ เช่น ไกลปืนเที่ยงสาวไส้ให้กากิน ชักใบให้เรือเสีย ปิดทองหลังพระ สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
หมวดที่เกิดจากสภาพแวดแวดล้อม เช่น ตีวัวกระทบคราด ใกล้เกลือกินด่าง ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก
หมวดที่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ
หมวดที่เกิดจากระเบียบแบบแผนประเพณีความเชื่อ เช่น กงเกวียนกำเกวียน คู่แล้วไม่แคล้วกัน ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่
หมวดที่เกิดจากความประพฤติ เช่น หงิมหงิมหยิบชิ้นปลามัน ตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงา คบคนดูหน้าซื้อผ้าดูเนื้อ ขี้เกียจสันหลังยาว
มีเสียงสัมผัส
คำสัมผัส เช่น คอขาดบาดตาย มั่งมีศรีสุข ทำมาค้าขาย
6–7 คำสัมผัส เช่น ปากเป็นเอก เลขเป็นโท คดในข้องอในกระดูก แพ้เป็นพระชนะเป็นมาร ขิงก็ราข่าก็แรง
8–9 คำสัมผัส เช่น ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา
ไม่มีเสียงสัมผัส
2 คำเรียงกัน เช่น กัดฟัน ของร้อน ก่อหวอด
3 คำเรียงกัน เช่น ไกลปืนเที่ยง ก้างขวางคอ ดาบสองคม พริกกับเกลือ
4 คำเรียงกัน เช่น ใกล้เกลือกินด่าง ผักชีโรยหน้า เข้าด้ายเข้าเข็ม
5 คำเรียงกัน เช่น ชักแม่น้ำทั้งห้า ลางเนื้อชอบลางยา ขว้างงูไม่พ้นคอ
6–7 คำเรียงกัน เช่น ยกภูเขาออกจากอก วันพระไม่มีหนเดียว ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
ที่มาของสำนวนไทย
สำนวนไทย คือ ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า สำนวน คือถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือความที่เรียบเรียงขึ้นในเชิงอุปมาอุปมัยโดยมีนัยแฝงเร้นซ่อนอยู่อย่างลึกซึ้ง แยบคาย เพื่อให้ผู้รับได้ไปตีความ ทำความเข้าใจด้วยตนเองอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งอาจแตกต่างไปความหมายเดิมหรืออาจคล้ายคลึงกับความหมายเดิมก็ได้ สันนิษฐานว่าสำนวนนั้นมีอยู่ในภาษาพูดก่อนที่จะมีภาษาเขียนเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย โดยเมื่อพิจารณาจากข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงแล้ว ก็พบว่ามีสำนวนไทยปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ เช่น ไพร่ฟ้าหน้าใส หมายถึง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข