ครูตอเต่าแนะนำแนวทางเก็บหลักฐานร่องรอยการปฎิบัติงาน จาก ว21/60 สู่ ว9/64 การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

ครูตอเต่าแนะนำแนวทางเก็บหลักฐานร่องรอยการปฎิบัติงาน จาก ว21/60 สู่ ว9/64 การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

ครูตอเต่าแนะนำแนวทางเก็บหลักฐานร่องรอยการปฎิบัติงาน จาก ว21/60 สู่ ว9/64 การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

เข้าร่วมกลุ่มข่าวฟรีที่นี่ คลิ๊กเลย
ครูตอเต่าแนะนำแนวทางเก็บหลักฐานร่องรอยการปฎิบัติงาน จาก ว21/60 สู่ ว9/64 การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

การจัดทำกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

วันนี้ ครูตอเต่าจะพามาพุดคุยและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการประเมินผลงานที่เกิด จากการปฏิบัติหน้าที่ (เอกสาร 3 ด้าน 13 ตัวชี้วัด) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 21 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 กำหนดให้ผู้ขอมีวิทยฐานะและ เลื่อนวิทยฐานะ ต้องได้รับการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ 3 ด้าน รวม 13 ตัว ชี้วัด ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/0635 และ ที่ ศธ 0206.3/0641-0643 ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2560


ซึ่งการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนก็เป็นส่วนหนึ่งในการจัดทำเอกสาร 3 ด้าน 13 ตัวชี้วัด เพราะว่าอยู่ในองค์ประกอบด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนการสอน ตัวชี้วัดที่ 1.1 การ สร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร โดยมีรายละเอียดคำอธิบายตัวชี้วัดการประเมินแต่ละด้าน ด้งนี้ครับ


ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนการสอน หมายถึง การจัดทำหลักสูตรและหรือพัฒนาหลักสูตร เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง มีปัญญา มีศักยภาพ ในการศึกษาต่อและประกอบ อาชีพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรสถานศึกษา โดยจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการ รูปแบบที่หลากหลาย และเหมาะสม เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีการปฏิบัติมีจำนวน 8 ตัวชี้วัด มีราย ละเอียด ดังนี้ ครับ

ตัวชี้วัดที่ 1.1 การสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร หมายถึงการจัดทำและหรือพัฒนาหลักสูตร รายวิชา หน่วยการเรียนรู้ รวมทั้งมีการประเมินความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และ ตัวชีัวัดหรือผลการเรียนรู้ ซึ่งรายละเอียดในการปฏิบัติเพื่อให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดด้านที่ 1 การจัดการเรียนการสอนตัวชี้วัดที่ 1 ข้อ 1.1 การสร้างหรือพัฒนาหลักสูตร และร่องรอย หลังฐานในการเก็บเอกสารเพื่อให้สอดคล้องกับตัวชี้วัด แนวทางการจัดทำกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รายละเอียดเป็นดังนี้ ครับ

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพ พัฒนาอย่าง รอบด้านเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม เสริม สร้างให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการทำ ประโยชน์เพื่อสังคม สามารถจัดการตนเองได้ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แบ่งเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

กิจกรรมแนะแนว

เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถ คิดตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียน และอาชีพ สามารถปรับตนได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียน ทั้งยังเป็น กิจกรรมที่ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียน

กิจกรรมนักเรียน

เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาความมีระเบียบวินัย ความเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี ความรับผิด ชอบ การทำงานร่วมกัน การรู้จักแก้ปัญหา การตัดสินใจที่เหมาะสม ความมีเหตุผล การช่วย เหลือแบ่งปันกัน เอื้ออาทร และสมานฉันท์ โดยจัดให้สอดคล้องกับความสามารถ ความ ถนัด และความสนใจของผู้เรียน ให้ได้ปฏิบัติด้วยตนเองในทุกขั้นตอน ได้แก่ การศึกษา วิเคราะห์วางแผน ปฏิบัติตามแผน ประเมินและปรับปรุงการทำงาน เน้นการทำงานร่วมกัน เป็นกลุ่ม ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับวุฒิภาวะของผู้เรียน บริบทของสถานศึกษา และท้องถิ่น กิจกรรมนักเรียนประกอบด้วย

👉กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี

👉ยุวกาชาด

👉ผู้บำเพ็ญประโยชน์

👉นักศึกษาวิชาทหาร

👉กิจกรรมชุมนุม ชมรม

กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

         เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และท้องถิ่นตามความสนใจในลักษณะอาสาสมัคร เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ ความดีงาม ความเสียสละต่อสังคม มีจิตสาธารณะ เช่น กิจกรรมอาสาพัฒนาต่าง ๆ  กิจกรรมสร้างสรรค์สังคม

งานแนะแนว

จัดระบบการแนะแนวทางวิชาการและวิชาชีพภายในสถานศึกษา โดยเชื่อมโยงกับระบบ ดูแลช่วยเหลือนักเรียนและกระบวนการเรียนการสอน

💦ตั้งคณะกรรมการแนะแนวภายในสถานศึกษา

💦วางแผนจัดกิจกรรมแนะแนวทางวิชาการและวิชาชีพภายในสถานศึกษา

👉ดำเนินการแนะแนวและพัฒนาศักยภาพผู้เรียน โดยความร่วมมือของครูทุกคน ในสถานศึกษา

💦ประสานความร่วมมือกับฝ่ายปกครอง ครูที่ปรึกษาและครูทุกคน เพื่อทำความเข้าใจ และขอความร่วมมือจัดกิจกรรมตามแผน

💦จัดกิจกรรมแนะแนววิชาการและวิชาชีพตามแผนที่วางไว้

👉ติดตามและประเมินผลระบบและกระบวนการแนะแนวในสถานศึกษา

💦จัดทำเครื่องมือประเมินผลระบบแนะแนวให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์และกิจกรรมแนะแนว

💦ดำเนินการติดตาม ประเมินผลการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

👉ประสานความร่วมมือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ด้านการแนะแนวกับสถานศึกษา อื่น หรือเครือข่ายแนะแนวภายในเขตพื้นที่การศึกษา

💦รวบรวมข้อมูลสถานศึกษาที่จัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและแนะแนวดีเด่นเป็นแบบ อย่างได้

💦ศึกษาดูงานสถานศึกษาที่จัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการแนะแนวดีเด่น

💦พัฒนาระบบแนะแนวภายในสถานศึกษา แนวทางการดำเนินงาน

งานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

งานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นงานที่เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตาม ศักยภาพมุ่งเน้นเพิ่มเติมจากการจัดกิจกรรมตามกลุ่มสาระ ประกอบด้วย งานกิจกรรม แนะแนว ห้องสมุดกิจกรรมชุมนุม กิจกรรมลูกเสือ ยุวกาชาด หรือกิจกรรมอื่นใดที่กำหนด ไว้ในหลักสูตร มีแนวปฏิบัติดังนี้

👉รวบรวมระเบียบและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

👉จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี ปฏิทินปฏิบัติงาน สรุป และรายงานผลการปฏิบัติงานของ กิจกรรมชุมนุม ลูกเสือ และกิจกรรมแนะแนว

👉กำหนดกลุ่มผู้เรียน อาจารย์ที่ปรึกษา และระบบบริหารจัดการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

👉นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานการจัดกิจกรรมชุมนุม ลูกเสือและยุวกาชาด

👉จัดกิจกรรมแนะแนวตามโครงสร้างของหลักสูตร ทั้งการจัดการเรียนรู้และการจัดบริการ ต่าง ๆ อย่างครบถ้วน

👉การจัดและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน

👉การปรับปรุงผลการเรียนของนักเรียนที่ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

👉ประสานการดำเนินงานกับกลุ่มสาระ

👉ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

การจัดทำกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

1. กำหนดตัวชี้วัดคุณลักษณะและความสามารถในการร่วมกิจกรรม โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้

พัฒนาตนเองตามศักยภาพ ความถนัด ความสนใจ วุฒิภาวะของผู้เรียน  สอดคล้องกับ

ลักษณะของกิจกรรมนั้นๆ

2. กำหนดเวลาเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2551 ใน

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1– มัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีละ 120  ชั่วโมง  เป็นเวลาสำหรับปฏิบัติ

       1)  กิจกรรมแนะแนว

              2)  กิจกรรมนักเรียน  ได้แก่  กิจกรรมลูกเสือ – เนตรนารี ,  กิจกรรมชุมนุม

              3)  กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

3. เวลาเรียนของกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์กำหนดให้ระดับประถมศึกษาปีที่

1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3   (ปีละ 10 ชั่วโมง)

4. จัดกิจกรรมการพัฒนาให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดอย่างหลากหลาย น่าสนใจ โดยเน้นเวลา

การเข้าร่วมกิจกรรม พฤติกรรมการปฏิบัติ  และผลงาน/ชิ้นงาน

ครูตอเต่า www.krutortao.com
ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ทุกกรณี

เกี่ยวกับเรา

ครูตอเต่า และ krutortao.com ครูตอเต่าแบ่งปัน สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ แจกฟรี สื่อการสอน แนะนำ สื่อการสอนฟรี สำหรับครู ดาวน์โหลดไฟล์ ใบงาน ใบความรู้ สื่อออนไลน์ แบบฝึกหัด ข้อสอบ ทุกรายวิชา ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ไฟล์เอกสารฟรี ไฟล์หน้าปกฟรี บทความ เอกสารทางการศึกษา ไฟล์เอกสารประเมินวิทยฐานะ อบรมออนไลน์ แบบทดสอบออนไลน์ รายงานการรอบรม เกียรติบัตร เพื่อให้ครูนำไปใช้เป็นในการจัดการเรียนการสอน ให้กับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ติดตามข่าวการศึกษา ข่าวทั่วไป อัพเดททันต่อเหตุการณ์ สอบครูผู้ช่วย แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย รวมทั้งหมดไว้ที่นี่ krutortao.com เว็บไซต์เพื่อการศึกษา และยังสามารถติดตามได้ทางแฟนเพจ ครูตอเต่า อีกช่องทาง เพื่อพัฒนาการศึกษาไทย โดยไม่แสวงหาผลกำไรแต่อย่างใด

Krutortao ครูตอเต่า เป็นเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ และแบ่งปัน ผลงานนครู สื่อการสอน หลักสูตรการอบรมออนไลน์ รับเกียรติบัตร แบ่งปันความรู้ เพื่อนำไปพัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพครู โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และไม่มีการเรียกเก็บเงินใดๆ 

เข้าร่วมกลุ่ม VIP ไม่มีค่าใช้จ่าย !! “ครูตอเต่า” โปรดแตะลิงก์ด้านล่าง

https://line.me/ti/g2/kU_0oE_3oOjGJmRVb_6z36Nn8KPOZiWcNOEWJg?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default

Share This Article
Exit mobile version